Ep44 รู้จัก ยาละลายลิ่มเลือด

รู้จัก ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด หรือที่ เรียกกันทั่วไปว่า ละลายลิ่มเลือด คำว่า “ยาละลายลิ่มเลือด” ตามจริงแล้ว คำนี้อาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะว่า ยากลุ่มนี้ ไม่สามารถไปละลายลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นมาแล้วได้ แต่ ยาจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เลือด เกิดการก่อต่อกันขึ้นมาจนเป็นลิ่มเลือด แต่คำว่า ยาละลายลิ่มเลือด ถูกใช้กันอย่าง แพร่หลาย ใช้ในการสื่อสารกับผู้ป่วย ในบทความนี้จึงขอใช้คำว่า ยาละลายลิ่มเลือด

ยาละลายลิ่มเลือด มีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอัมพาต ตั้งแต่ 1 ผู้ป่วยที่เคยเป็นอัมพาตจากโรคสมองขาดเลือดมาแล้ว

2 ผู้ป่วยที่ยังไม่เคยเป็นอัมพาต แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็น เช่น

ผู้ปวยที่มีใจสั่นAF โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว, กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม

การใช้ยาละลายลิ่มเลือด เป็นดาบสองคม มีทั้งประโยชน์ในการ ป้องกันอัมพาต และ โทษจากการใช้ยา โดยเฉพาะ ภาวะเลือดออกผิดปกติ การรู้จักยาตัวนี้อย่างรอบด้าน ก็จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจการใช้ยาได้ดีขึ้น

ยา ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) หรือ ยาละลายลิ่มเลือด ในชื่อการค้า ก็มีทั้ง ชื่อ ยา วาร์ฟาริน , คูมาดิน, ออฟาริน มาร์ฟาริน ขนาดเม็ดยา ก็มี ตั้งแต่ 2มก(เม็ดสีส้ม) 3มก(เม็ดสีฟ้า) 5มก(เม็ดสีชมพู) แต่ละขนาด ก็จะมีสีของเม็ดยา เฉพาะตามขนาดยา เพื่อให้ ผู้ป่วยจดจำยาได้ง่าย ลดความผิดพลาดของการใช้ยา

ความสำคัญของการใช้ยากลุ่มนี้ก็คือ แพทย์ต้องปรับขนาดยาให้พอดีกับผู้ป่วยแต่ละคน ขนาดยาจะน้อยไป หรือ มากไปก็จะเกิดปัญหา เช่น ผู้ป่วยที่ ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม กรณีที่ผู้ป่วยใช้ขนาดยาน้อยไป ก็เสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดมาเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอัมพาต, ลิ้นหัวใจไม่ทำงาน หรือ ถ้ากินยามากไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกในลำไส้, เลือดออกในสมอง

การที่แพทย์จะบอกว่า ขนาดยาละลายลิ่มเลือดนี้ เหมาะสมแล้ว แพทย์ก็จะต้องอาศัยผลจากการตรวจเลือดที่เรียกว่า INR การปรับยาจน ผู้ป่วยมีระดับINR ที่เหมาะสมแล้ว ไม่ได้เป็นการการันตีว่า ครั้งหน้าระดับINR จะยังคงเหมาะสมทั้งที่ผู้ป่วยก็กินยาเท่าเดิมทุกวัน เพราะว่า ฤทธิของยา มีปัจจัยอย่างอื่นมารบกวนมาก ไม่ได้เกี่ยวกับขนาดเม็ดยาเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยที่กินผัก, กินสมุนไพร ก็ทำให้ค่า INR ไม่คงเดิมถึงแม้ว่า ผู้ป่วยจะกินยาเท่าเดิมก็ตาม จึงเป็นเหตุผลที่ ผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด จำเป็นต้องมาตรวจเลือด ตามที่แพทย์นัดหมายทุกครั้งก่อนที่จะมีการปรับยา

ความหมายของ ค่าการแข็งตัวของเลือดหรือ INR จากการกินยา นั้นจะบอกว่า บอกว่า ผู้ป่วยมีการแข็งตัวของเลือดช้ากว่าคนปกติกี่เท่า คนปกติ จึงควรมีค่า INR เท่ากับ1 โดยค่า INR เป้าหมาย จะอยู่ในช่วง 2.0-2.5 ซึ่งค่านี้จะบอกว่า ผู้ป่วยรายนี้จะมีการแข็งตัวของเลือด ช้ากว่าคนปกติ 2.0-2.5เท่า ในรายที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมที่เป็นโลหะ ค่าINR เป้าหมายอาจจะสูงถึง3.0 ได้ ขึ้นกับดุลย์พินิจของแพทย์

อันตรายอีกอย่างหนึ่งของยากลุ่มนี้ ก็คือ ยามีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ ดังนั้น ผู้หญิงที่มีแผนจะตั้งครรภ์ ก็จะห้ามใช้ยาตัวนี้ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่กำลังตัดสินใจ ผ่าตัดลิ้นหัวใจ การเลือกประเภทของลิ้นหัวใจเทียม แบบเนื้อเยื่อ ชนิดที่ ไม่ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดหลังผ่าตัด จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีแผนการมีบุตร จึงควรปรึกษากับแพทย์ก่อนที่จะทำการผ่าตัด

6เทคนิค ใช้ยา ละลายลิ่มเลือด ยาละลายลิ่มเลือด เป็นยาที่อันตราย การระมัดระวังในการใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องทำอย่างไรบ้าง

1 การกินยาให้ตรงเวลาเดิมในทุกวัน จนเป็นนิสัย จะกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพื่อให้เราจดจำการกินยาได้ง่าย

2 การใช้ยาในขนาดที่ตรงกับที่แพทย์สั่ง แพทย์อาจจะมีการเปลี่ยนขนาดยาอยู่บ่อยๆ ความสับสนกับขนาดยาที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้ผู้ป่วยกินยาผิดได้

3 ไม่ลืมกินยา มีวิธีการเตือนตัวเองในการใช้ยา เช่น การใช้กล่องเก็บยาที่แบ่งเป็นช่องตามวัน ทำให้เรารู้ว่าเราไม่ลืมกินยา, การนับเม็ดยาที่เหลือเพื่อทบทวนการใช้ยาที่ผ่านมา, หรือการใช้ application ช่วยเตือน ถ้าลืมกินยา ต้องทำอย่างไร? สมมุติว่า ผู้ป่วย ใช้ยา เวลา6.00 น. ของทุกวัน กรณีที่ลืมกินยา แต่นึกขึ้นได้ในเวลาไม่เกิน8ชั่วโมงหลังเวลา6.00น. คือ ก่อนเวลา 14.00น. ผู้ป่วยก็ยังสามารถกินยาได้ตามปกติ แต่ถ้าเลย 8ชั่วโมงมาแล้ว ก็ควร รอกินยาในเวลา 6.00น.ของวันถัดไป ห้ามกินยาชดเชย โดยการกินยาเป็น2 เท่าเพื่อทดแทนมื้อยาที่ลืมกิน ในกรณีที่ลืมติดต่อกัน2วัน ก็ควรมาปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเลือด หรือปรับยาใหม่

4 อาหารก็ทำให้ฤทธิยาเปลี่ยนไป ยา ละลายลิ่มเลือด เป็นยาที่มีฤทธิ์เปลี่ยนแปลง ตามอาหารที่รับประทาน หรือยาสมุนไพรบางชนิดได้ เช่น ผักใบเขียว, โสม, ถั่วเหลือง, ชาเขียว ซึ่งมีวิตามินเคสูง จะทำให้ยามีฤทธิ์ลดลง แต่ อาหารประเภท กระเทียม, ขิง, น้ำมันตับปลา, วิตามินอี กลับทำให้ ยามีฤทธิ์มากขึ้น ดังนั้นถึงแม้ว่า ผู้ป่วย จะใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ผลของยาที่ได้ก็อาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่แพทย์ต้องการ แต่มิได้หมายความว่า ให้ผู้ป่วยเลิกกินอาหารเหล่านี้ แต่ให้กินในปริมาณที่ใกล้เคียงกันในแต่ละวัน การตรวจเลือดทุกเดือนเพื่อติดตาม ผลของยาที่มีต่อการแข็งตัวของเลือดหรือ INR โดยค่า INR นี้ จะบอกว่า ผู้ป่วยมีการแข็งตัวของเลือดช้ากว่าคนปกติกี่เท่า โดยค่า INR เป้าหมาย จะอยู่ในช่วง 2.0-2.5 ซึ่งค่านี้จะบอกว่า ผู้ป่วยรายนี้จะมีการแข็งตัวของเลือด ช้ากว่าคนปกติ 2.0-2.5เท่า ในรายที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมที่เป็นโลหะ ค่าINR เป้าหมายอาจจะสูงถึง3.0 ได้ ขึ้นกับดุลย์พินิจของแพทย์

5 บอกให้คนข้างๆหรือ แพทย์ ทราบว่าเราใช้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่

” การแจ้งเตือนให้ผู้อื่นรับรู้ว่า เราใช้ยานี้อยู่ ” มีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น 1. การใช้สัญลักษณ์แสดง เช่น สร้อยคอ, บัตรการใช้ยา เพราะในยามที่ฉุกเฉิน เราอาจจะไม่มีสติที่จะแจ้งแพทยืได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งเตือนแพทย์ให้รับรู้ได้ 2. ควรบอกกล่าวคนในครอบครัวให้รับรู้ถึงความสำคัญของยาที่เราใช้นี้ด้วย 3. ไม่ลืมแจ้งแพทย์, พยาบาล หรือ ทันตแพทย์ ทุกครั้งก่อนการรักษาใดๆ

6 รู้จักสังเกตุ เลือดออกผิดปกติ ภาวะเลือดออกง่าย ที่เกิดจากยา วาร์ฟาริน สามารถเกิดได้ทั้งจากการใช้ยาผิดเกินขนาด, หรือ ใช้ยาตามปกติแต่เกิดอุบัติเหตุ เช่น การล้มใน ผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่ต้อง ดูแลผู้สูงอายุ ที่ใช้ยานี้ ควรที่จะเข้าใจในเรื่องยาเป็นอย่างดี การเฝ้าระวังปัญหาเลือดออกผิดปกตินี้ ด้วยการสังเกตุอาการที่เกิดขึ้น เช่น ถ่ายดำ, ซีดลง, ผู้ป่วยดูอ่อนเพลีย รวมทั้ง การตรวจเลือดทุกเดือน ปัญหาเรื่องเลือดออกในสมอง จากการล้ม ก็เป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้นการระวังเรื่องการล้มภายในบ้าน จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน และ รายวัน  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด  สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น         

                 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ  ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต