
ส่วนใหญ่ การผ่าตัดปลุกถ่ายไต ได้ ไตบริจาคจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อย ที่ได้ ไตบริจาค มาจากผุ้ที่ยังมีชีวิตอยู่ การได้ ไตบริจาคจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีข้อดีตรงที่ ไม่ต้องการรอคอยไตบริจาคที่มีระยะเวลานาน, การผ่าตัดสามารถกำหนดวันและวางแผนได้ดีกว่า, ไตที่มาจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่มีอายุการใช้งานของไตนานกว่า

อุปสรรคการสำคัญของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก็คือ การที่ร่างกายของผู้รับไตบริจาค มีปฎิกริยาต่อต้านไตที่รับบริจาคมา- graft rejection จนกระทั่งไตนั้น ไม่สามารถทำงานได้จนต้องผ่าตัดเอาไตนั้นออกไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ร่างกายเรามีกระบวนการในการป้องกันตัวเองจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเรา ที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกัน- immune system
ในระบบการไหลเวียนเลือดของคนเราจะประกอบด้วย เซลล์หลัก3กลุ่ม คือ เม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด โดยเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน ก็คือ เม็ดเลือดขาว เวลาที่ มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส, เชื้อแบคที่เรีย เม็ดเลือดขาวหลากหลายชนิดก็จะเข้ามาร่วมกัน สร้างปฎิกริยาการอักเสบ- inflammation เพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้

ไตบริจาค ที่รับมาจากคนอื่น ถึงแม้ว่า ไตบริจาคนี้ จะเป็นเนื้อเยื่อที่มาจากมนุษย์ด้วยกัน แต่ เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะมองว่า ไตบริจาคนี้คือ สิ่งแปลกปลอม

สิ่งที่ทำให้ เม็ดเลือดขาว ใน ระบบภูมิคุ้มกัน สามารถจดจำ จำแนก ได้ว่า เซลล์ที่เป็นของร่างกายตัวเอง หรือเป็น สิ่งแปลกปลอม ก็คือ โปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ เรียกว่า Human Leukocyte Antigents , HLA โปรตีนเหล่านี้มีมากมายหลายร้อยชนิด แต่ชนิดที่มีผลต่อการ รับบริจาคอวัยวะ- organ transplant มีอยู่ 3กลุ่ม คือ HLA ชนิด A, B, DR กลุ่มละ 1คู่ หรือทั้งหมด 6ชนิด โดย HLA เหล่านี้ ครึ่งหนึ่งจะรับมาจากแม่ และ อีกครึ่งหนึ่งจะรับมาจากพ่อ

การตรวจการเข้ากันของเนื้อเยื่อ- tissue typing ก็คือ การตรวจการตรงกันของ โปรตีนบนผิวเซลล์ หรือ HLA โดยไตที่รับบริจาคมาจะต้องมีชนิดของ โปรตีนบนผิวเซลล์ HLA เหมือนกับ โปรตีนบนผิวเซลล์ของผู้รับบริจาค เม็ดเลือดขาวของผู้รับบริจาคก็จะจดจำว่า ไตที่รับบริจาค นี้ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม และจะไม่สร้างปฎิกริยาต่อต้านทำลาย ไตที่รับบริจาค มา แต่ในความเป็นจริง เป็นการยากที่เราจะสามารถหา ไตบริจาค ที่มี โปรตีนบนผิวเซลล์ ใกล้เคียงกับ ผู้รับบริจาคทั้ง 100% นอกจากว่า ไตบริจาค นี้ มาจาก ผู้บริจาคที่เป็นฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน – identical twin กับผู้รับบริจาค

แต่ก่อนที่จะมีการตรวจการเข้ากันของเนื้อเยื่อนี้ ผู้บริจาคและ ผู้บริจาค ต้องตรวจ การเข้ากันของหมู่เลือดก่อน-blood group typing โดยหมู่เลือด ของ คนเราจะมี 4กลุ่ม คือ A,B.AB และ O โดยประชากรส่วนใหญ่ จะมีหมู่เลือดO มากที่สุด และมีหมู่เลือด AB น้อยที่สุด
โดย คนที่มีหมู่เลือด O สามารถรับ อวัยวะบริจาคได้จากผู้ที่มีหมู่เลือดO เท่านั้น ในทางตรงข้าม ผู้ที่มีหมู่เลือดAB สามารถรับบริจาคได้ทั้งคนที่มีหมู่เลือด AB, A,B,O ส่วนคนที่มีหมู่เลือด A ก็จะสามารถรับบริจาคอวัยวะได้จากคนที่มีหมู่เลือด A หรือ O เช่นเดียวกัน คนที่มีหมู่เลือด B ก็สามารถรับบริจาคได้จากคนที่มีหมู่เลือด B หรือ Oได้
หลังจากที่ผู้รับบริจาค และผู้บริจาค ได้รับการตรวจการเข้ากันทั้ง หมู่เลือดและ เนื้อเยื่อแล้ว ผู้รับบริจาคยังต้องมาตรวจหา ภูมิต้านทานต่อ เนื้อเยื่อที่จะรับบริจาคเป็นระยะก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการ ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ที่เรียกว่า Cross matching เพราะ ร่างกายของผู้รับบริจาค สามารถที่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อ HLA ได้ตลอด เช่น การได้รับเลือด, การตั้งครรภ์
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ชีวา
ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต
บางใหญ่ นนทบุรี



ชีวา เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน บางใหญ่ นนทบุรี การบริการประกอบไปด้วย
ศูนย์พักฟื้น กายภาพบำบัด และ ดูแลผู้สูงอายุ แบบพักรายเดือน
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ไตเทียม หรือศูนย์ฟอกไต โดยผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคม เบิกค่าใช้จ่ายในการฟอกไตได้ รวมถึงการ ผ่าตัดเตรียมเส้นฟอกไต โดย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด
คลินิกแพทย์เฉพาะทาง เช่น คลินิกศัลยกรรมหลอดเลือด, คลินิกโรคหัวใจ, คลินิกโรคกระดูกและข้อ
ใส่ความเห็น