7เทคนิค การพูดคุยกับผู้ป่วยอัมพาตที่พูดไม่ได้
คำว่า อัมพาต หลายท่าน คงจะนึกภาพ ผู้ป่วยที่แขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลง ปากเบี้ยว เดินท่าไม่ปกติ
แต่มี อีกอาการหนึ่ง ที่มักจะแถมมาด้วย คือ การพูดได้ช้า หรือพูดไม่ได้ พบได้ถึง 30% ของผู้ป่วยอัมพาต
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีปัญหาการนึกคำที่จะพูดไม่ออก, ไม่เข้าใจในคำพูดที่ได้ยิน ได้ฟังมา หรือคำที่พูดออกไป จะคุยกับคนในบ้าน ก็ไม่มีใครเข้าใจ ทำให้ผู้ป่วยยิ่งใช้ชีวิตยากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวที่ต้องหาวิธีที่จะสื่อสารกับผู้ป่วย
7เทคนิค อยู่กับผู้ป่วย อัมพาต พูดไม่ได้
1 หามุมที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยที่ปราศจากเสียงรบกวนขณะที่พูดคุย เช่น เสียงทีวี, คนเดินผ่านไปมา, เพราะสิ่งรบกวนเหล่านี้ จะทำให้ ผู้ป่วยมีสมาธิลดลง และจะถูกดึงความสนใจออกไปจากการสนทนาได้ง่าย

2. ให้เวลาในการรับฟังผู้ป่วย พูดช้าๆ และไม่เปลี่ยนเรื่องที่จะคุยเร็วเกินไป เพราะผู้ป่วย ต้องการเวลาในการนึก และ ประมวลออกมาเป็นคำพูด
3. ใช้คำถามเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ซับซ้อน ด้วยน้ำเสียงที่ปกติ
4. ใช้คำถามปลายปิด เช่น ถามว่า “คุณจะไปห้องน้ำใช่ไหม “, “คุณอยากดื่มกาแฟ หรือ นม” เพื่อให้ผู้ป่วยง่ายในการที่จะตอบโต้กับเรา หลีกเลี่ยงการใช้คำถามปลายเปิด อย่างเช่น “คุณจะไปไหน” หรือ “คุณจะดื่มอะไร”
5. ใช้ภาษากาย ประกอบการสนทนา

6. กรณีที่ผู้ป่วยนึกคำไม่ออก เราอาจจะช่วยโดยการ ชี้ไปที่สิ่งของที่ผู้ป่วยจะอ้างถึง , วาดรูปประกอบ, ยกตัวอย่างคำที่ใกล้เคียง
7. เมื่อเราไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด อย่าแกล้งทำเป็นเข้าใจ ให้บอกผู้ป่วยตามตรง
ปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นักแก้ไขการพูด, นักกายภาพบำบัด จึงจะสามารถแก้ไขได้ถูกวิธี , รีบเข้ามารับการฟื้นฟูตั้งแต่เริ่มเป็นอัมพาต และที่สำคัญ ต้องหมั่นฝึกซ้อมทุกวัน ผู้ป่วยจะดีขึ้นและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต











