Ep149 ไตวายระยะสุดท้าย ไม่ทำเส้นฟอกไต จะเป็นยังไง?

ผู้ป่วยไตวายที่ตัวโรคดำเนินเข้าสู่ระยะสุดท้าย หรือระยะที่5 ซึ่งเป็นระยะที่ ไตทั้งสองข้าง กำลังจะหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อไตทั้งสองข้างหยุดทำงาน ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ จำเป็นต้องอาศัย การฟอกไต ในที่นี้ จะขอเน้นไปที่ การฟอกไตทางหลอดเลือด และ การฟอกไตแต่ละครั้ง ก็เป็นการนำเลือดปริมาณมากออกจากตัวผู้ป่วย เพื่อไปฟอกยังเครื่อง ฟอกไต แล้วจึงส่งกลับมาคืนให้ผู้ป่วย การดึงเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วย จำเป็นต้องอาศัย ช่องทาง หรือ หลอดเลือด ที่อยู่ใกล้กับผิวหนัง, มีขนาดใหญ่ และมีผนังที่แข็งแรง ซึ่งร่างกายมนุษย์ปกติจะไม่มีหลอดเลือดแบบนี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัด ที่เรียกว่า

การผ่าตัดทำเส้นฟอกไตที่แขน หรือ AVF

แต่ว่า การผ่าตัดทำเส้นฟอกไตที่แขนนี้ มิใช่ว่า หลังผ่าตัดแล้ว หลอดเลือดจะมีขนาดใหญ่ทันที จนผู้ป่วยสามารถเข้ามารับการฟอกไตด้วยเครื่องได้ ผู้ป่วยยังต้องรอหลังผ่าตัดไปอีกอย่างน้อย 3เดือน ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ…

ผู้ป่วยไตวายที่ต้องเข้ารับการฟอกไต แต่เส้นฟอกไตที่ผ่าตัดไป ไม่โตทันใช้งาน หรือ ผู้ป่วยยังไม่ทันได้รับการ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

เมื่อผู้ป่วยไตวาย จำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไต แต่ไม่มีเส้นฟอกไตที่แขนที่สามารถใช้งานได้ แพทย์จึงต้องหาเส้นฟอกไตชนิดอื่น เพื่อเป็นช่องทางในการดึงเลือดออกจากตัวผู้ป่วยไปยังเครื่องฟอกไต ช่องทางที่สามารถทำให้ผู้ป่วยรับการฟอกไตได้เลยมี2ช่องทาง ก็คือ การวางเส้นที่คอแบบชั่วคราว(DLC) และแบบวางเส้นที่อกแบบกึ่งถาวร(Perm Cath) ในภาวะฉุกเฉิน แพทย์โรคไต อาจจะจำเป็นต้อง แทงเส้นเลือดที่คอ เพื่อใส่สายฟอกไตแบบชั่วคราว ซึ่งวิธีนี้สามารถทำที่หอผู้ป่วยได้เลย แต่ การใส่สายที่คอแบบชั่วคราวนี้ ปัญหาที่ตามมาก็คือการติเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้สายแบบนี้ในการฟอกไตได้ไม่เกิน 3เดือน ผู้ป่วยบางคน อาจจะได้รับการใส่สายที่หน้าอกแบบกึ่งถาวร ซึ่งวิธีนี้มักจะทำในห้องผ่าตัด ปลอดเชื้อ โดยศัลยแพทย์ทรวงอกและหลอดเลือด ข้อดีของการ วางสายที่อกก็คือ สามารถใช้สายนี้ได้นานถึง1ปี

แต่ไม่ว่าจะวางสายที่คอแบบชั่วคราว หรือ วางสายที่อกแบบกึ่งถาวร ในระหว่างนี้ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขน ก็ควรรีบมารับการผ่าตัดโดยเร็ว เหตุเพราะว่า เส้นฟอกไตที่แขนต้องใช้เวลาหลยเดือนในการที่จะรอให้หลอดเลือดที่ผ่าตัดไป มีขนาดและความแข็งแรงที่เหมาะสมกับการฟอกไต อีกทั้ง ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเส้นที่แขนไป ก้ไม่ใช่ว่าทุกรายจะสามารถมีเส้นฟอกไตที่ใช้การได้หลังผ่าตัด

ดังนั้น ระยะเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเตรียมเส้นฟอกไตที่แขนก็คือ

ช่วงเวลาตั้งแต่ ตัวโรคไตวายกำลังเข้าสู่ระยะที่5 หรืออยู่ในช่วงระยะท้ายของระยะที่4 ซึ่งการผ่าตัดในช่วงเวลานี้ ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ ผู้ป่วยมีเวลาพอ ที่จะรอให้เส้นฟอกไตที่แขนมีความแข็งแรงหลังผ่าตัด ก่อนที่ไตจะล้มเหลวจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟอกไต ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หลายครั้ง จากการวางเส้นที่คอ หรือที่อก

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา