Ep209 ไส้กรอง ฟอกไต ใช้ซ้ำจะปลอดภัยไหม? ตอนที่1 รู้จักไส้กรองแบบชัดๆ

ผู้ป่วยไตวายที่เข้ามารับการฟอกไต ก็คงคุ้นเคยกับ เครื่องฟอกไต เครื่องขนาดเท่าตู้เย็นที่บ้าน มีสายระโยงระยาง มีเลือดวิ่งหมุนวนไปมา แต่ จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญที่สุด และ ทำหน้าที่ทดแทนไต ก็คือ ชิ้นส่วนเล็ก เท่า กระบอกน้ำ ที่เรียกกันว่า ไส้กรอง เรียกว่า การฟอกแต่ละครั้ง จะสะอาด หรือไม่สะอาด ก็อยู่ที่ตัวกรองชิ้นเล็กๆนี้

ไส้กรอง เป็นหัวใจสำคัญในทุกครั้งของการฟอกไต การใช้ไส้กรองนี้ ผู้ป่วยบางส่วนก็มีการใช้แบบ ใช้ทีเดียวทิ้ง กับแบบใช้ซ้ำไปเรื่อยๆ 10-20ครั้ง หรือจนกว่าพยาบาลจะเปลี่ยนให้ แน่นอนครับ คงไม่ต้องสงสัยว่า การใช้ไส้กรองแบบครั้งเดียวทิ้ง ก็ย่อมดีกว่า การใช้ไส้กรองแบบใช้ซ้ำ แต่ด้วยเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยหลายคนก็จำเป็นต้องใช้ไส้กรอง ซ้ำหลายๆครั้ง ในครั้งนี้ ผมก็จะมาตอบคำถามที่ว่า แล้วการใช้ ไส้กรองแบบที่ใช้ซ้ำๆจะ สะอาดไหม?, จะใช้งานได้ดีไหม? ,จะปลอดภัยไหม?

จริงๆแล้ว ไส้กรองที่ใช้แล้ว จะมาใช้ซ้ำอีกครั้งนั้น สามารถใช้ได้ไหม ตอบว่า ใช้ได้ครับ แต่ มีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ที่ว่า ศูนย์ไตเทียมที่จะนำไส้กรองมาใช้ใหม่ นั้นจะต้องมี กรรมวิธีในการทำความสะอาด ล้าง ฆ่าเชื้อ และ การตรวจสอบสภาพ ความพร้อมของไส้กรอง ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่เรียกกันว่า AAMI(American Advancement of Medical Instrumentation) เพราะการนำไส้กรองที่ไม่ได้ผ่านการล้าง ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพไส้กรองที่ดี ย่อมนำมาซึ่ง การฟอกไตที่ไม่มีประสิทธิภาพ, การติดเชื้อ และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ไส้กรองที่กลับนำว่าใช้ใหม่อีกครั้ง จะมีปัญหาอะไรบ้าง?

4 ความเสี่ยง จาการใช้ไส้กรองฟอกไต แบบนำกลับมาใช้ซ้ำ

1 ติดเชื้อ จากไส้กรองตัวเก่า การติดเชื้อ ที่เกิดจากการใช้ไส้กรองที่นำมาใช้ซ้ำ สามารถเกิดได้จากการที่ผู้ป่วย ไปใช้ ไส้กรองของผู้ป่วยคนอื่น ซึ่งอาจจะมีสาเหตุ มาจากความผิดพลาดของ บุคลากรใน การจัดเตรียมไส้กรอง ก่อนนำมาใช้กับผู้ป่วย หรือ ผู้ป่วยใช้ไส้กรองของตัวเอง แต่ มีเชื้อปนเปื้อนในไส้กรองที่กลับนำมาใช้ใหม่ จากการล้าง ฆ่าเชื้อ ไส้กรองที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลเสียที่ตามมาก็คือการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต

2 ผลกระทบจากสารที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ สารฆ่าเชื้อที่ใช้ในการเตรียมไส้กรอง เช่น ฟอลมัล ดีไฮด์

3 การฟอกไตที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากไส้กรองที่มีปัญหา การอุดตันของเส้นใยในไส้กรองไม่ว่าจะเป็น ลิ่มเลือดที่อุดในรูของเส้นใยภายในไส้กรอง หรือ คราบโปรตีนที่อุดตามรูระบายของผนังด้านข้างของเส้นใยในไส้กรอง

4 การแพ้โปรตีนที่ติดมากับไส้กรองตัวเก่า