ปวดเท้า หายได้ไม่ต้องพึ่งยา

ปวดเท้า    มีสาเหตุมากมาย หลากหลาย ทั้งนี้เป็นเพราะว่า เท้าคนเราเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน ประกอบขึ้นด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆมากถึง26 ชิ้นที่มาเรียงต่อกันเป็นข้อต่อมากมายในเท้าเรา อีกทั้งยังมี เส้นเอ็น, กล้ามเนื้อ และพังผืด ที่เกี่ยวยึดกับกระดูกเหล่านี้ เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้มีปัญหา ก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดเท้าได้หลากหลาย ทั่วทั้งเท้า    อีกทั้ง เท้า เป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนัก ทั้งหมดของร่างกาย น้ำหนักที่กดลงมาทำให้ง่ายต่อการเกิดบอบช้ำ 

คลินิกกายภาพบำบัด

   อาการปวดสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ โรคพังผืดหรือเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis) หรือ โรครองช้ำ 

แผ่นพังผืดที่อยู่ใต้ฝ่าเท้านี้ เป็นพังผืดที่เกาะจากโคนกระดูกนิ้วเท้า แล้วพาดไปเกาะที่กระดูกส้นเท้า แผ่นพังผืดนี้ช่วยลดแรงกระแทกของข้อเท้าและข้อต่างๆในเท้า ทุกครั้งที่เรายืน เดิน แผ่นพังผืดนี้จะถูกเหยียดออก เมื่อเรามีการลงน้ำหนักที่เท้าอย่างรุนแรง เช่นการวิ่ง แรงกดลงมาที่เท้า ทำให้แผ่นพังผืดถูกยืดที่รุนแรง จนพังผืดเกิดการฉีกขาดเล็กๆ และเกิดการอักเสบตามมา โดยจุดที่อักเสบในแผ่นพังผืดอาจจะอยู่ส่วนไหนของแผ่นพังผืดก็ได้ แต่ที่พบบ่อยคือบริเวณฝ่าเท้าใกล้มาทางกระดูกส้นเท้า ทำให้ผู้ป่วย มีอาการปวดที่ส้นเท้าเป็นสำคัญ 

คลินิกกายภาพบำบัด

กลุ่มคนที่เป็นโรคนี้บ่อย คือคนวัยอายุ 40-60ปี, หญิงเป็นมากกว่าชาย, คนที่มีน้ำหนักมาก, อาชีพที่ต้องยืนนาน,คนที่มีอุ้งเท้าที่แบน(flatter feet) หรือมีอุ้งเท้าที่โค้งมาก (high arches),ใส่รองเท้าส้นสูง, เดินเท้าเปล่าบนพื้นที่แข็ง

คลินิกกายภาพบำบัด

5ลักษณะอาการทีใช้สังเกตตัวเองสำหรับโรคนี้

โรคนี้นักกายภาพบำบัดจะใช้ อาการและการตรวจร่างกายเป็นหลักในการวินิจฉัย เนื่องจากความผิดปกติ เกิดที่เนื้อเยื่อ มิใช่ กระดูก ดังนั้นการเอกซ์เรย์ จึงไม่มีประโยชน์ในการนำมาใช้วินิจฉัยโรค ผู้ป่วย สามารถสังเกตตัวเองได้ว่าเราน่าจะเป็นโรคนี้หรือไม่ ดังนี้

                     1.โรคนี้จะปวดมากที่ส้นเท้า มีบวม ตึงส้นเท้า

                     2.ปวดมากเวลายืนหลังจากที่นั่งหรือนอนมานานๆ  เช่นปวดมากเวลาลุกยืนหลังตื่นนอน เดินไปสักพักดูเหมือนอาการจะดีขึ้น แต่หลังจากยืนเดินนานๆ อาการปวดกลับมากขึ้น

                      3.ปวดมากเวลายกของหนัก  

                      4.นั่งพักยกเท้าขึ้นจะปวดน้อยลง

                       5.กระดกหลังเท้าจะยิ่งปวดมากขึ้น

นักกายภาพบำบัด รักษากันอย่างไร?

โรคนี้ส่วนมาก90%ของผู้ป่วย จะหายโดยวิธีกายภาพบำบัด ไม่ต้องผ่าตัด อาการปวดเป็นปัญหาแรกที่ นักกายภาพบำบัด จะจัดการ โดยใช้ เครื่องมือทางกายภาพบำบัดในการลดอาการปวดและอักเสบ ได้แก่ เครื่องอัลตราซาวน์ ร่วมกับการวางแผ่นร้อนหรือแผ่นเย็น และใช้เทคนิคการนวดบริเวณฝ่าเท้าและน่อง เมื่ออาการปวดลดลง การบำบัดขั้นต่อไปจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและ แผ่นพังผืดใต้ฝ่าเท้า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ร่วมกับเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อภายในฝ่าเท้า  หรือในรายที่มีอาการปวดเรื้อรังจะให้ใส่อุปกรณ์เสริมบริเวณเท้าให้กับผู้ป่วย เพื่อลดอาการปวดขณะเดิน หรือ อุปกรณ์ดามเท้าขณะนอน Night Splint

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและดูแลผู้สูงอายุ ชีวา

บางใหญ่ นนทบุรี

คลินิกกายภาพบำบัด