เทคนิคการ หยุดบุหรี่

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ใครๆก็รู้นะครับว่า บุหรี่ ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงมากมาย หลายคนพยายามจะเลิกสูบบุหรี่ แต่ก็ล้มเหลว บางรายงานบอกว่า การเลิกบุหรี่ ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด มีความยากพอๆกับการเลิก ยาเสพติดชนิดอื่น เช่นเฮโลอิน, โคเคน ทำไม การเลิกบุหรี่จึงไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แล้ว มีวิธีการอย่างไรถึงจะสามารถ หยุดบุหรี่ได้สำเร็จ

ในวันที่หยุดบุหรี่ คุณจะเจออะไรบ้าง

1 อุปสรรคที่1 อาการขาดนิโคติน เช่น อาการกังวล หงุดหงิดง่าย, ซึมเศร้า, ไม่มีสมาธิ, มึนงง, นอนไม่หลับ, กินจุขึ้น, ท้องผูก หรือ จุกแน่นไม่สบายท้อง, ปากคอแห้ง ไอ มีน้ำมูก เหมือนเป็นหวัด คุณจะมีอาการเหล่านี้มากที่สุด ใน 3วันแรก แล้วหลังจากนั้น อาการเหล่านี้จะค่อยๆลดลงไปเองภายใน3-4สัปดาห์ เมื่อคุณผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถหยุดบุหรี่ได้ คุณยังต้องเจออุปสรรคที่ยากลำบากกว่า คือ อุปสรรคที่2

2 อุปสรรคที่2 พฤติกรรม ความเคยชินของการสูบบุหรี่ เมื่อคุณจะหยุดบุหรี่มาได้1เดือนแล้ว นั้นหมายความว่า คุณผ่าน บททดสอบจากการ ขาดสารนิโคติน ไปได้ แต่คุณยังมีโอกาสที่จะกลับไปสุบบุหรี่อีกครั้งได้ เพราะว่าบุหรี่ไม่ได้เป็นแค่เรื่องสารเสพติด แต่ การสูบบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน

การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน จะเกิดกระบวนการ เชื่อมโยงระหว่าง การสูบบุหรี่ กับ บางกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้สมองได้จดจำให้ การสูบบุหรี่นี้ ถูกฝังแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่น ดื่มเหล้า ต้องสูบบุหรี่, เครียด ต้องสูบบุหรี่ หรือปัจจัยอื่นๆเช่น ดื่มกาแฟ, เข้าห้องน้ำ, สังสรรค์กับเพื่อน พอมีกิจกรรมเหล่านี้ สมองก็จะสั่งให้คิดถึง บุหรี่ เหล่านี้เป็น ปัจจัยกระตุ้นความอยากบุหรี่

อุปสรรคที่2 นี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ การหยุดบุหรี่ล้มเหลว มีการกลับไปสูบบุหรี่ใหม่

3ปัจจัยที่ทำให้หยุดบุหรี่ได้

การตัดสินใจที่จะหยุดบุหรี่ถือว่าเป็นชัยชนะขั้นที่หนึ่ง แต่การจะฝ่าด่าน ฝ่าบททดสอบจิตใจ จนสามารถหยุดบุหรี่ได้สำเร็จ จำเป็นต้องอาศัย 3สิ่ง คือ

1 ใจของตัวเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดใน3ปัจจัย การสร้างกำลังใจ, แรงบันดาลใจ, มุมมองที่เป็นบวก ของตัวเอง ในการที่จะหยุดบุหรี่ ย่อมนำมาซึ่งพลังและ ความพยายามที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

การสูบบุหรี่ กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต

อุปสรรคที่เราต้องเจอกับการหยุดบุหรี่ นอกจาก อาการจากการขาดสารนิโคติน แล้ว ก็คือ ความยากลำบากในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน การที่ บุหรี่ถูกผูกเข้ากับกิจวัตรประจำวัน เช่น เราเคยดื่มกาแฟตอนเช้า พร้อมกับการสูบบุหรี่ เป็นประจำ เมื่อเราคิดจะดื่มกาแฟ สมองเราก็จะสั่งให้เราคิดถึงบุหรี่ การดื่มกาแฟ จึงเป็นการกระตุ้นให้เรา อยากบุหรี่

ผมแนะนำ 4ขั้นตอน เมื่อเราเกิดความอยากบุหรี่ในเวลานั้น

1 ดึงตัวเองไม่ให้คว้าบุหรี่มาสูบให้นานที่สุด เพราะ เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่นาที่ ความอยากนั้นจะค่อยๆลดลงไปเอง

2 หายใจเข้าลึกๆ3ครั้ง

3เดินหนีความอยาก เบี่ยงเบนความสนใจ เช่น เดินออกกำลัง, ทำงานบ้าน งานสวน ฟังเพลง ทำครัว

4 จิบน้ำเย็นช้าๆ

ความเครียด ต้นเหตุของการสูบบุหรี่

การหาวิธีการ จัดการความเครียด ความกังวล ในแบบวิถีของตัวเองอยุ่เสมอๆ จนเกิดเป็นนิสัย ความชำนาญในการจัดการความคิด จัดการอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นวัคซีนป้องกันการกลับมาสูบบุหรี่ได้อย่างดี วิธีการจัดการของแต่ละคนก้แตกต่างกัน วิธีไหนก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึก ผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น

เลิกความคิด “สูบแค่มวนเดียว ไม่เป็นไร”

ถึงแม้ว่า การสูบบุหรี่แค่มวนเดียว จะฟังดูไม่มาก แต่ความคิดดังกล่าว แสดงถึง ความล้มเหลวในการหยุดสุบบุหรี่ เพราะในที่สุด โอกาสที่คนคนนั้น จะกลับมาสูบเหมือนเดิมก็จะยังคงมี อีกทั้ง ถึงแม้ว่าจะสูบแค่มวนเดียว แต่ผลเสียต่อสุขภาพก้ยังคงอยู่เหมือนเดิม

ทบทวนความกลัว ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ความกลัวต่อการเจ็บ ทรมาน เป็นพลังที่สำคัญในการผลักดันให้ผู้ป่วย มีแรง มีกำลังใจที่จะหยุดบุหรี่ หลายคนที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจ, ผ่านการสวนหัวใจ, ผ่านความกลัว ความเจ็บปวด ทำให้หลายคนเหล่านี้ สามารถหยุดบุหรี่ได้ในชั่วข้ามคืน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ตนเองก็เคยพยายามหยุดบุหรี่มาหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ

2 กำลังใจจากครอบครัว

มีการศึกษานะครับว่า การหยุดบุหรี่ตามลำพัง มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยกว่าการหยุดบุหรี่ที่มีแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว ผมเชื่อนะครับว่า ทุกคนในครอบครัวต่างก็หวังที่จะให้คุณหยุดบุหรี่ได้สำเร็จ

ภรรยา ก็คงเฝ้ารอคอยวันที่สามี บอกว่าจะเลิกบุหรี่ และพร้อมที่จะสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ ขอแค่คุณตัดสินใจที่จะเลิกบุหรี่ และเดินเข้าไปคุยกับคนในครอบครัว รับรองครับว่า คุณจะได้เห็นกำลังใจจากคนรอบข้างอย่างมากมาย

3 ยาช่วยหยุดบุหรี่ ยาส่วนใหญ่มุ่งหวัง ผลของการ ลดอาการอยาก นิโคติน ที่เกิดขึ้นในช่วง 1เดือนแรกของการหยุดบุหรี่ ถึงแม้ว่า จะไม่ใช่เป็น ปัจจัยหลักที่จะทำให้ ผู้ป่วยหยุดบุหรี่ได้สำเร็จ แต่ก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วย ไม่ทุกข์ทรมานมากจากอาการขาดนิโคติน ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก

มองความล้มเหลวเป็นโอกาส

ผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการหยุดบุหรี่ ส่วนใหญ่ก็ผ่านความล้มเหลวในความพยายามที่จะหยุดสูบบุหรี่ มานับครั้งไม่ถ้วน ดังนั้น อย่าอาย ท้อแท้ เมื่อคุณล้มเหลว แต่ผมกลับมองว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ ที่ ผู้ป่วยมีความตั้งใจและได้เริ่มลงมือทำแล้ว ถึงแม้ว่ามันจะไม่สำเร็จก็ตาม และน่าภูมิใจยิ่งขึ้น เมื่อผู้ป่วยที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าแต่กลับมีความพยายามที่จะเริ่มต้นหยุดสูบบุหรี่อีกครั้ง

ความล้มเหลว แต่ละครั้ง คือบทเรียนที่จะนำไปใช้ปรับตัวเองในการหยุดบุหรี่ครั้งต่อไป การเรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้เรา กลับมาสูบบุหรี่ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เรา เกิดจิตใจที่มีความมุ่งมั่น มีพลังที่จะชนะอุปสรรคที่เข้ามาระหว่างที่หยุดบุหรี่

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

คุยกับเรา   https://lin.ee/k8UqBKr

เวปไซด์ https://www.chewa.co.th

 โทร 0909250096  0800090691

ชีวา
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ไตเทียม
ชีวา
ชีวา