บทความ: ฉีดวัคซีนครบแล้วจะเป็นโควิดไหม?

ฉีดวัคซีน

ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่มีการฉีดวัคซีนครบ2เข็มกันแล้ว อย่างเช่นใน อิสราเอล ประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนที่ดีคือ ไฟเซอร์ และ เป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่ประชากรเกินครึ่งได้วัคซีนครบ2เข็ม ( ประชากร 68.3%ฉีดครบ2เข็ม เมื่อ3กันยายน2021) จนในช่วงมิถุนายน2021 ก็มีการเตรียมตัวที่จะเปิดประเทศ ทิ้งหน้ากาก แล้วกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า วัคซีนเป็นเกราะกำบังวิเศษ ที่โควิดจะทำอะไรเราไม่ได้อีกแล้ว เราจะไม่ติดเชื้ออีกต่อไป แต่เมื่อช่วง กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ประเทศอิสราเอลกลับมีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากวันละหลักสิบคน กลายมาเป็น หลักหมื่นคน เกิดอะไรขึ้นกับคนที่ฉีดวัคซีนที่ดีที่สุด? หรือว่า การฉีดวัคซีนไม่มีประโยชน์?

คลิกฟัง ฉีดวัคซีนแล้วทำไมยังติดโควิดได้?
วัคซีนโควิด
ฉีดวัคซีน

คนที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อทั้งๆที่มีภูมิคุ้มกันอยู่ การติดเชื้อโควิด ในช่วงหลังจาก14วันที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีนเข็มที่2ไปแล้ว เราเรียกการติดเชื้อแบบนี้ว่า Breakthrough infection หรือการติดเชื้อที่สามารถเจาะทะลุภูมิคุ้มกันที่เรามีอยู่ได้

4 ปัจจัยที่ทำให้คนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วก็ยังติดเชื้อได้

1.วัคซีนที่ฉีดมีประสิทธิภาพแค่ไหน?

วัคซีนที่ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้สามารถใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนเหล่านั้นจะต้องดีเหมือนกัน เหมือนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่สอบผ่าน ก็มีทั้งเด็กที่คะแนนดีกับปานกลาง การจะบอกว่าวัคซีนยี่ห้อไหนดีหรือไม่ดี ก็ต้องมาดูที่ ประสิทธิภาพ (efficacy) วัคซีนเหล่านั้นจะต้องมีประสิทธิภาพขั้นต่ำ 50% ขึ้นไป จึงจะได้รับการพิจารณาจากองค์การอนามัยโลก

มารู้จักคำว่า ประสิทธิภาพกันนะครับ

คำว่า “วัคซีนมีประสิทธิภาพ80%” ไม่ได้หมายความว่า ฉีดวัคซีนยี่ห้อนี้ไป100คน แล้วจะมี 20คนในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนนี้ไปแล้วจะเป็นโรค ค่าประสิทธิภาพนี้เป็นค่าสัดส่วนของคนที่ติดเชื้อโควิดที่มีทั้งคนที่ฉีดวัคซีนกับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หมายความว่า กลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนนี้แล้วจะมีโอกาสติดเชื้อโควิดน้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ฉีดวัคซีน 80% กล่าวคือ ติดตามประชากรในกลุ่มที่ได้วัคซีนกับไม่ได้วัคซีนตัวนี้ในจำนวนประชากรที่เท่ากัน ติดตามไป3เดือนหลังฉีดวัคซีน จะพบว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนจะมีจำนวนคนที่ติดเชื้อโควิดน้อยกว่า80% เช่น กลุ่มที่ไม่ได้วัคซีนเกิดการติดเชื้อ100คน แต่กลุ่มที่ได้วัคซีนจะมีการติดเชื้อ20คน หรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 80% หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ในกลุ่มคนที่ติดเชื้อ100คน จะพบคนที่ติดเชื้อแต่ไม่ฉีดวัคซีน80คนและฉีดวัคซีน20คน

ฉีดวัคซีน

ในภาพข้างบน จะเห็นวัคซีน ทั้ง6 ชนิด มีเกณฑ์ของระดับประสิทธิภาพมากกว่า50% ซึ่งเป็นระดับที่องค์การอนามัยโลกใช้ในการพิจารณาวัคซีนนำมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพปานกลาง เช่น ซิโนแวค ประสิทธิภาพ51% เมื่อเทียบกับ ประสิทธิภาพของ วัคซีนกลุ่ม mRNA เช่น ไฟเซอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง95% สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีน ซิโนแวค ย่อมพบจำนวนผู้ติดเชื้อหลังได้วัคซีนครบมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์

2.เกิดโควิด สายพันธ์เดลต้าที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อและก่อให้เกิดโรคมากขึ้น

ข้อมูล ประสิทธิภาพของวัคซีนในภาพข้างบน เป็นประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อโควิดสายพันธ์ุดั่งเดิม แต่ในปัจจุบัน มีการกลายพันธ์ุเป็นสายพันธุ์ เดลต้า ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อและก่อความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มmRNA เช่น ไฟเซอร์ ลดลงจาก95% เป็น80% ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบ ก็มีโอกาสติดเชื้อ จากสายพันธ์ุใหม่ได้มากกว่าสายพันธ์ุดั่งเดิม

สำหรับวัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ซึ่งมีการใช้ทั่วโลกมากกว่า80ประเทศ นั้นก็ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงผลของวัคซีนนี้ออกมาอย่างกว้างขวาง แต่จากข้อมูลของ วัคซีนซิโนแวค ที่มีประสิทธิภาพต่อสายพันธ์ุดั่งเดิมที่ไม่สูงมากอยู่แล้วจึง มีแนวโน้มว่า ประสิทธิภาพในการป้องกัน โควิดสายพันธุ์เดลต้า อาจจะยิ่งต่ำลงไปอีก อีกทั้ง ก็มีการรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข ช่วง เมษายน-กรกฎาคม ปีนี้ ที่รายงาน บุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับวัคซีน ซิโนแวคครบ2เข็มแล้ว ก็ยังมีการติดเชื้อโควิดอยู่

3. ระดับการสร้างภูมิคุ้มกันของแต่ละคน

แต่ละคนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่2 ครบแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมัระดับภูมิคุ้มกันเท่ากัน บางกลุ่มอาจจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดี เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้โอกาสที่จะติดเชื้อโควิดหลังได้วัคซีนครบสูงกว่าคนกลุ่มอื่น

นอกจากนี้ คนทั่วไปหลังฉีดวัคซีนครบ ก็จะมี ระดับภูมิคุ้มกันค่อยๆลดลง เมื่อเวลาผ่านไป จนอาจถึงระดับที่ต่ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด จากการศึกษาในอังกฤษพบว่า หลังจากได้รับวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด6เดือนที่มีการติดตาม

วัคซีนโควิด

ภาพบน มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้แสดงประสิทธิภาพของวัคซีน ไฟเซอร์ ในช่วงที่มีการระบาดเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลต้า ในเส้นแกนแนวนอน แสดงเวลาเป็นจำนวนเดือน นับตั้งแต่ 14วันหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีนเข็มที่2 จะเห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป4เดือน ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงมาก เช่นเดียวกับวัคซีน แอสตร้า เซเนก้า ที่มีประสิทธิภาพลดลง จาก 77% เหลือ 67% ใน4-5เดือน ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อโควิดหลังจากได้วัคซีน การพิจารณาเริ่มกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มที่3 จึงอาจจะมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นในการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่3 ยังอยู่ในระหว่งการศึกษา แต่บางประเทศ เช่น อิสราเอล ก็เริ่มมีการให้ วัคซีน ไฟเซอร์ เข็มที่3 ให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต คือ ผู้ที่อายุมากกว่า60ปี และปัจจุบัน(1กันยายน 2021) ก็เริ่มให้กับผู้ที่มีอายุ30ปีขึ้นไปแล้ว

4. ชุมชนนั้นมีภูมิคุ้มกันหมู่แล้วหรือยัง?

สาเหตุหนึ่งของการระบาดขึ้นมาใหม่ในแต่ละครั้ง คือ จำนวนประชากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ ทำให้จำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนมีไม่มากพอที่จะเป็นด่านปรากการป้องกันให้กับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน นั่นคือที่มาของคำว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd immunity จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่หลายประเทศ ต่างเร่งฉีดวัคซีนให้ประชากรของตัวเอง เพื่อเร่งให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันที่มากพอในการป้องกันโรค ซึ่งจากการแพร่่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า อาจจะต้องฉีดวัคซีนในประชากรมากกว่า90%

ภูมิคุ้มกันหมู่

ความหวังที่จะเห็นประชากรส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันที่มากพอจะเป็นการช่วยลด การแพร่กระจายเชื้อ อีกทั้งยังช่วยป้องกันคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้รอดจาการติดเชื้อ แต่จากเหตุการณ์ การระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้คนที่ได้รับวัคซีนครบแล้วยังสามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก ซึ่งทำให้สัดส่วนจำนวนประชากรที่ต้องได้รับวัคซีนครบ อาจจะต้องสูงมากกว่า90%ของประชากรทั้งประเทศ ดูเหมือนความหวังที่จะเห็นชุมชนมีภูมิคุ้มกันหมู่ในเร็ววันนี้ ดูไกลออกไปมากขึ้นอีก

สรุป ถึงแม้ว่าไม่มีวัคซีนใดในโลกที่มีประสิทธิภาพ100% อีกทั้ง ประสิทธิภาพวัคซีนจะยิ่งลดลงในยามที่ สายพันธุ์เดลต้า ระบาดไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงยังมีผู้ติดเชื้อได้แม้ผู้นั้นจะได้วัคซีนครบแล้วก็ตาม แต่การฉีดวัคซีนก็ยังช่วยให้ ลดการตายหรือเจ็บป่วยรุนแรง ในผู้ที่ได้วัคซีนครบ ได้มากกว่า90%, ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการลดการเจ็บป่วยจะลดลงบ้าง และยังคงเกิดการแพร่เชื้อได้ในผู้ที่ได้วัคซีนครบแล้ว ก็ตาม แต่ก็อยู่ในอัตราที่น้อยกว่าในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

คลินิกโรคหัวใจ

ศูนย์ไตเทียม

บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

โทร ได้ทุกวัน 0909250096 0969088890

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  อำเภอ บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  1 ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  ทั้งแบบพักรายเดือน และ รายวัน  เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด หลังอัมพาต หรือ ผ่าตัดข้อ กระดูก, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 2 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด  สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น รายเดือน หรือ ทำกายภาพบำบัดแบบไปกลับ       

                 3 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต     ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ  

             4 คลินิกโรคหัวใจ  ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต