บทความ: วัคซีนไฟเซอร์ ป้องกัน เดลต้าไม่ได้จริงหรือ?

วัคซีนโควิดในกลุ่มmRNA คือ ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ซึ่งถือว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในเวลานี้ ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะวัคซีนไฟเซอร์ เพราะเป็นวัคซีนตัวแรกที่ถูกรับรองให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินโดย องค์การอาหารและยาในสหรัฐอเมริกา (FDA) และองค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ ธันวาคม2020 (The New York Times) จนกระทั้งมีการรับรองอย่างเป็นทางการโดย FDA เมื่อสิงหาคม 2021 ถือว่าเป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับรองการใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ (Yale Medicine) หลังจากเริ่มมีการใช้วัคซีนไฟเซอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ธันวาคม 2020 มีรายงานประสิทธิภาพของวัคซีนในช่วงนี้ดีมาก ทั้งสามารถ ลดการป่วยจากการติดเชื้อ, ลดการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต อีกทั้งยังลดจำนวนเชื้อในโพรงจมูกของผู้ที่ติดเชื้อหลังได้วัคซีนครบ ซึ่งแสดงว่า วัคซีนน่าจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้อีกด้วย ในเวลานั้น ข้อมูลเหล่านี้ เป็นข่าวดี เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ มองเห็นโอกาสที่เราจะกลับไปใช้ชีวิตปกติแบบเดิมมากขึ้น

ในช่วง กรกฎาคม 2021 เกิดการระบาดของเชื้อโควิดเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นมาใน เมือง Massachusetts สหรัฐอเมริกา จำนวน 469 คน ทั้งที่3ใน4ของกลุ่มคนเหล่านี้ ได้รับวัคซีนกลุ่ม mRNA ครบ2เข็มมานานกว่า2สัปดาห์แล้ว (CDC) ตามความเข้าใจที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้ น่าจะมีภูมิคุ้มกันที่พอจะป้องกันการติดเชื้อได้ หรือว่า

วัคซีนที่ว่าดีที่สุด อาจจะไม่ได้ผลจริง?

จากการวิเคราะห์สาเหตุของการติดเชื้อในครั้งนี้ก็คือการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021

การที่ผู้ได้รับวัคซีนครบแล้วมานานมากกว่า2สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันแล้ว แต่ยังสามารถติดเชื้อ โควิดได้อีก เรียกการติดเชื้อนี้ว่า Breakthrough infection หรือการติดเชื้อที่สามารถฝ่าด่านป้องกันของภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ได้

การกลายพันธุ์ของโควิด เป็นเรื่องปกติของเชื้อ ทุกครั้งที่มีการติดเชื้อใหม่ในคน โควิดก็จะมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เชื้อสามารถแพร่ได้มากขึ้น ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น ความร้ายกาจของ สายพันธุ์เดลต้า คือ เป็นเชื้อโควิดที่สามารถแพร่เชื้อได้เร็วมากกว่า2เท่าของ สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น อัลฟา หรือเบต้า หมายถึงว่าคนติดเชื้อ1คน สามารถแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้มากกว่า2คน อีกทั้งยังทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการที่รุนแรงของโรคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จนถึงวันนี้ (4กันยายน2564) สายพันธุ์เดลต้ากลายเป็นสายพันธุ์หลักของหลายประเทศไปแล้ว เช่นใน สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ พบผู้ติดเชื้อที่เกิดจาก สายพันธุ์นี้สูงถึง 98% ของสายพันธุ์ทั้งหมด

เกิดคำถามตามมาว่า วัคซีนที่ฉีดกันมีประโยชน์หรือไม่ ในสถานการณ์การระบาดโควิดสายพันธุ์เดลต้า?

ก่อนอื่นผมขอแยกประเด็นของประโยชน์ของวัคซีนออกเป็น2กลุ่มนะครับ คือ ป้องกันการเจ็บป่วย และป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

1.ป้องกันการเจ็บป่วย การป้องกันการเจ็บป่วย ในที่นี้หมายถึงว่า เมื่อผู้ที่ได้รับวัคซีนจนครบและ เกิดการติดเชื้อตามมา ความเจ็บป่วยที่เกิดชึ้นจากโควิด แบ่งออกเป็น2ส่วนคือ อาการเจ็บป่วยที่ไม่มากจนต้องนอนโรงพยาบาล กับ อาการเจ็บป่วยรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต วัคซีนสามารถลดจำนวนผู้ป่วยใน2ส่วนนี้ได้มากแค่ไหน ก็เป็นการบอกถึงประสิทธิภาพของวัคซีน

1 วัคซีนช่วยให้ จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลดลงหรือไม่?

ข้อมูลที่ผ่านมา สรุปชัดเจนว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีน2เข็ม เมื่อมีการติดเชื้อโควิดไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ดั่งเดิม, อัลฟ่า หรือ เดลต้าก็ตาม จำนวนผู้ป่วยที่ เจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต จะลดลงอย่างมาก มีข้อสังเกตว่าถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่ป่วยจากโควิดจะพุ่งสูงขึ้นแต่จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตกลับไม่ได้มากขึ้น กล่าวคือ ประสิทธิภาพของวัคซีนกลุ่มนี้ยังคงลดการเจ็บป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้มากกว่า90% แม้จะติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าก็ตาม

เดลต้า

2 วัคซีนช่วยให้ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีอาการลดลงหรือไม่?

การประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนโดยการดูว่าวัคซีนสามารถป้องกันประชากรไม่ให้ป่วยจากโควิด จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ ในช่วงที่ยังไม่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนไฟเซอร์ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ ได้93% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้วัคซีน แต่ในเวลาต่อมาเมื่อเกิดการระบาดสายพันธุ์เดลต้า ประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจะลดลงเหลือ 88% แต่ก็ถือว่าเป็นระดับที่ลดลงไม่มาก ในขณะที่วัคซีนยังสามารถป้องกันการป่วยที่รุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลได้ดี คือ ป้องกันได้ถึง 96% สำนักข่าว CNBC ได้รายงานการระบาดของโควิดครั้งใหม่ในประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเกินครึ่งของประเทศ ได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ครบ2เข็มแล้ว จนผู้ติดเชื้อลดลงมากในช่วงต้นปีนี้ แต่ต่อมาตั้งแต่มีการระบาด เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดสูงขึ้นมาอีกครั้ง ในช่วงต้นกรกฎาคม มีการรายงานประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ในการป้องกันการป่วยลดลงเหลือเพียง 39% ซึ่งต่ำกว่าค่าที่รายงานจากประเทศอังกฤษมาก แต่วัคซีนก็ยังคงลดการป่วยที่รุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลได้ดีคือ 90% ทำให้ ในช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศ อิสราเอล ต้องมีการเริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่3 ให้กับผู้ที่มีอายุ มากกว่า60ปี และตามมาด้วยกลุ่มอายุที่มากกว่า 30ปี หลังได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่2 ไปแล้ว 5เดือน เช่นเดียวกับที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประกาศเริ่มให้ประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ ได้รับวัคซีนเข็มที่3 หลังจากได้รับเข็มที่2มา8เดือน (Washington Post)

2.ป้องกันการแพร่เชื้อ สำหรับประโยชน์ของวัคซีนอีกด้านหนึ่งก็คือการป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น หมายความว่า ผู้ที่ได้รับเขื้อจะสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับผู้อื่นต่อไปหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของเชื้อในโพรงจมูกหรือในลำคอมามีมากแค่ไหน และตัวเชื้อเหล่านี้จะอยู่ในจมูกนานแค่ไหน ที่เรียกกันว่า Viral load ยิ่งมีเชื้อมากและอยู่ในโพรงจมูกหรือลำคอ นาน ความสามารถในการแพร่กระจายไปให้ผู้อื่นก็จะสูงขึ้น :ซึ่งข้อมูลในช่วงต้นปี วัคซีนเหล่านี้สามารถลดจำนวนเชื้อในจมูกและลดระยะเวลาที่เชื้อจะอยู่ในโพรงจมูกหรือลำคอให้สั้นลง ทำให้ลดการแพร่เชื้อลงได้ (ข้อมูลนี้เป็นการศึกษาใน โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า) จนหลายประเทศรวมทั้งในสหรัฐอเมริกาเริ่มผ่อนคลายมาตรการป้องกันลง แต่มีหลายรายงานที่บอกว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว สามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ มีการรายงานห้องทดลองใน มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในเดือนสิงหาคม 2021 bioRxiv รายงานว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนกลุ่ม mRNA ครบแล้ว สามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ และมีปริมาณเชื้อในโพรงจมูกที่สูง

มีการศึกษาในประเทศจีน ที่รายงานใน Med Rxiv ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า จำนวนเชื้อในโพรงจมูกผู้ติดเชื้อ โควิดสายพันธุ์เดลต้า มีมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ถึง1,000เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเพิ่มจำนวนเชื้อที่รวดเร็ว

1เดือนที่ผ่านมา มีการรายงานจาก cbcnews ว่า วัคซีนกลุ่ม m RNA ไม่สามารถลดจำนวนเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ในโพรงจมูกได้ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ทำให้หน่วยงาน CDC ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องมาปรับมาตรการป้องกันใหม่ให้ประชาชนกลับมาใส่หน้ากากเวลาที่อยู่ในอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วัคซีนจะไม่ช่วยลดจำนวนเชื้อในจมูกหลังติดเชื้อ แต่ก็สามารถลดระยะเวลาให้เชื้ออยู่ในจมูกได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน กล่าวคือ…

การได้รับวัคซีนอาจจะไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้

วัคซีนโควิด

ในภาพรวมจะเห็นว่า ในทีสุด โควิดไม่ได้หายไปไหน เราเอาชนะโควิดไม่ได้ นั่นหมายถึงว่า เมื่อถึงเวลาหนึ่ง คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันที่มาจากการฉีดวัคซีน โควิดก็จะไม่สามารถทำร้ายเราจนป่วยรุนแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ในเวลานี้วัคซีนที่ดีที่สุด ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อหยุดแพร่เชื้อได้ ซ้ำร้ายกว่านั้น ผู้ที่ติดเชื้อและพร้อมที่จะแพร่เชื้อมักจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย การระมัดระวังตัวที่จะไม่ไปแพร่เชื้อก็ลดลง เมื่อมีการแพร่เชื้ออยู่ ก็มีโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์ต่อไปอีกก็มี เราก็ยังต้องอยู่กับโควิดต่อไป รอจนกว่าเราจะสามารถหยุดการแพร่เชื้อ และหยุดการกลายพันธุ์ได้อย่างสมบรูณ์ และ เชื้อโควิดก็จะกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น (endemic) ไปในที่สุด

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ชีวา

ศูนย์ฟื้นฟู อัมพาต และ คลินิกกายภาพ ชีวา

 บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

โทร ได้ทุกวัน 0909250096 0969088890

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  อำเภอ บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  1 ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  ทั้งแบบพักรายเดือน และ รายวัน  เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด หลังอัมพาต หรือ ผ่าตัดข้อ กระดูก, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 2 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด  สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น รายเดือน หรือ ทำกายภาพบำบัดแบบไปกลับ       

                 3 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต     ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ  

             4 คลินิกโรคหัวใจ  ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต