ไตวาย

           ผู้ป่วยไตวาย ทุกคน ย่อมผ่านความรู้สึกกลัว ท้อแท้ กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นกับตัวเอง การตั่งสติ ปรับตัว ปรับใจ และ รู้จักใช้ชีวิตไม่ให้เราเจ็บป่วยไปมากกว่านี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และแน่นอนครับ การที่เราจะรู้วิธีการใช้ชีวิตที่ปลอดภัย ก็ต้องอาศัย ความรู้   อย่าฝากชีวิตเอาใว้กับหมอคนเดียว เพียงเพราะว่า เราไม่รู้ ในบทความนี้ผมก็จะค่อยๆเล่า เรื่องราวที่ผู้ป่วยไตวายควรที่จะรู้ทีละขั้นตอน บทแรกที่ผู้ป่วยควรรู้ก็คือ หมอรู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็นโรคไต? 

  แพทย์จะวินิจฉัยโรคไตวายได้ ต้องอาศํยการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ที่เรียกว่า อัตราการกรองของไต หรือ GFR ย่อมาจาก Glomerular Filtration Rate      แพทย์จะบอกค่าGFR นี้เป็นตัวเลข ตั้งแต่ 0% จนถึง 100%  ใครมีค่าน้อยกว่า 60%    แพทย์ก็จะวินิจฉัยว่า เป็นโรค ไตวาย และถ้าเจาะเลือด 2ครั้งห่างกันมากกว่า 3เดือน ค่านี้ก็ยังน้อยกว่า60%   ก็บอกเพิ่มอีกว่า เป็น ไตวาย  แบบเรื้อรัง หรือเรียกว่า CKD ย่อมาจาก คำว่า Chronic Kidney Disease 

                                        แต่ทำไมผู้ป่วยบางคนมีค่าGFR มากกว่า 60% แพทย์ก็ยังบอกว่าเป็นโรคไตวาย?

      เพราะว่า ไตวาย มีหลายระยะตั้งแต่ระยะที่1 ถึง5    ไตวายระยะแรก ค่าGFR จะยังมากกว่ากว่า 60%  ถ้าค่าGFRต่ำกว่า 60% ก็จะเป็น ไตวาย ระยะที่3   พอตกลงมาต่ำกว่า 15% เราก็เรียกว่า ไตวายระยะที่5  หรือ เป็น ไตวายระยะสุดท้าย      ดังนั้น การที่ระดับ GFR มากกว่า 60% ก็สามารถพบได้ทั้งในคนปกติ หรือคนที่เป็นโรคไตวายระยะแรกได้ เริ่ม สับสน กับค่า GFR แล้วใช่ไหมครับ 

                            แล้ว การมีค่า GFR  มากกว่า 60% แสดงว่า ไตเรา ปกติ หรือ เป็นไตวายระยะแรก ?

                               แพทย์ ก็จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูร่องรอยการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติที่ไต เช่น การตรวจ อัลตร้าซาวน์ดูขนาดไต หรือ การเปลี่ยนแปลงของเนื้อไต

                              การ ตรวจดู ปัสสาวะ ว่ามีไข่ขาวรั่วออกมาผิดปกติ หรือ มีเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในปัสสาวะ

             ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีค่า GFR มากกว่า 60% และ มีความผิดปกติของเนื้อไตหรือปัสสาวะ  แพทย์ก็จะวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเป็นไตวาย ระยะที่1-2 หรือ ไตวายระยะแรก 

        สาเหตุที่ทำให้ ผู้ป่วยไตวาย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่า หลายๆสาเหตุของ โรคไตวาย เมื่อแก้ไขที่สาเหตุได้ทันท่วงทีแล้ว ก็จะสามารถ รักษาไตวายได้โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่ไตวายแบบเฉียบพลัน 

      สาเหตุอันดับหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดไตวายแบบเรื้อรัง ก็คือ เบาหวาน รองลงมาก็คือ ความดันสูง, โรคภูมิแพ้ตัวเอง, โรคไตที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม, โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือ ความเสื่อมของไตตามอายุผู้ป่วยที่มากขึ้น


         โรคไตวายเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกัน ไม่ให้เป็น โรคไตวายได้ หรือ ชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลง ในผู้ป่วยที่ เป็นโรคไตวายไปแล้ว   น่าเสียดายที่ ผู้ป่วยเบาหวานหลายคน ไม่รู้ว่า มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคไต มารู้ตัวก็เมื่อตัวเองได้กลายเป็นผู้ป่วยไตวายไปแล้ว       บทบาทของผู้ป่วยที่ไตวายไปแล้ว  ก็คือ การป้องกันการเสื่อมของไตให้ช้าลง และ รู้จักการใช้ชีวิตที่เหมาะสมในฐานะผู้ป่วยโรคไต


           หลังจากผู้ป่วย ทราบว่า เป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว    สิ่งที่ผู้ป่วยต้องรู้ต่อมา ก็คือ โรคไตวายที่เป็นอยู่ในระยะไหน ในทั้งหมด 5 ระยะ        เพราะเมื่อโรคไตวาย ได้ ก้าวเข้ามาสู่ระยะสุดท้าย หรือ ระยะที่5  ซึ่งเป็นระยะที่ไต ใกล้จะหยุดทำงาน     และเมื่อไตหยุดทำงาน    สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ภาวะ ไตล้มเหลว  หรือ kidney failure เช่น น้ำท่วมปอด, ร่างกายเป็นกรด, สารยูรีเมียเป็นพิษ     ซึ่งเมื่อเกิดภาวะนี้แล้ว ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  จึงเป็นที่มาของการบำบัดรักษาที่ทดแทนการทำงานของไต ไม่ว่าจะเป็น การฟอกไตทางหลอดเลือด, การล้างไตทางหน้าท้อง และ การผ่าตัดปลูกถ่ายไต  

           ไม่มีใครบอกได้ว่า ผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะสุดท้ายของ ไตวายแล้ว จะเกิดภาวะไตล้มเหลวนี้ เมื่อใด และสิ่งที่สำคัญก็คือ การเตรียมตัวที่จะเข้ารับการฟอกไต หรือล้างไตทางหน้าท้อง โดยเฉพาะการผ่าตัดเตรียมเส้นฟอกไตใว้ก่อน ตั้งแต่ผู้ป่วยรู้ว่า ตัวเองเป็นไตวายระยะสุดท้าย    เพราะหลังผ่าตัดเส้นฟอกไตแล้ว จะต้องรอเวลา 2-3เดือน กว่าที่   หลอดเลือดดำที่ผ่าตัดไปจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงพอ ที่จะใช้เป็นช่องทางเข้าออกของเลือดไปยังเครื่องฟอกไต ที่เรียกว่า เส้นฟอกไตที่แขน   ปัญหาที่พบบ่อยก็คือการที่ผู้ป่วยไม่มีเส้นฟอกไต แต่ต้องเข้ารับฟอกไตแล้ว ทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษามากขึ้น  ผู้ป่วยต้องเจ็บตัว เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น  สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิด  ถ้า ผู้ป่วยได้รับการ ผ่าตัดเตรียมเส้นฟอกไตที่แขน ล่วงหน้าไว้แล้ว 

 ดังนั้น          สิ่งแรกที่ ผู้ป่วย ไตวายระยะสุดท้ายต้องทำก็คือ 

                   การเตรียมตัวผ่าตัดเส้นฟอกไต ที่แขนล่วงหน้า ก่อนที่ไตจะหยุดทำงาน 

                     ถึงแม้ว่า การฟอกไตทางหลอดเลือด เป็นวิธีที่นิยมกันมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า วิธีการฟอกไต นี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพียงแต่เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ มองว่า สะดวกไม่ต้องทำเองที่บ้าน แต่จริงๆแล้ว  การล้างไตทางหน้าท้อง ก็มีข้อที่ดีกว่า การฟอกไต อีกมาก เพียงแต่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการที่ต้องทำการล้างไตทางหน้าท้องเองที่บ้าน     จะเห็นว่าผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องที่บ้าน จนคล่องแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนมาฟอกไต เพราะด้วยเหตุผลหนึ่งก็คือ ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย เดินทางมาฟอกไตเกือบทุกวัน 

                  ปัจจุบัน การฟอกไต มี2แบบ คือ แบบพื้นฐาน Hemodialysis ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็จะฟอกไตวิธีนี้ ตามศูนย์ฟอกไต ทั่วๆไป ส่วนการฟอกไตอีกวิธีหนึ่ง ก็คือ การฟอกไตแบบ ออนไลน์ คำนี้อย่าเข้าใจผิดว่า ออนไลน์ หมายถึง ฟอกไตที่บ้าน ไม่เหมือน ชอปปิ้งออนไลน์ นะครับ 

                ฟอกไตแบบออนไลน์ นี้ จะเป็นการฟอกไตที่ดีกว่า การฟอกไตแบบพื้นฐาน ทั้งในด้าน ทำให้ ผู้ป่วยไต มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจก็น้อยกว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตวายก็น้อยกว่า การฟอกไตแบบ ออนไลน์ นี้ จะมีบริการเฉพาะในศูนย์ไตเทียมบางแห่ง ที่มีขนาดใหญ่ และมีมาตรฐานสูง 

 การล้างไตหน้าท้อง เมื่อผู้ป่วยทราบครั้งแรกว่า ต้องล้างไตเองที่บ้าน ก็มักจะปฎิเสธวิธีนี้ แต่ จริงๆแล้ว การล้างตทางหน้าท้อง มีข้อดีมากมาย ที่ไม่ควรมองข้าม เช่น ไม่ต้องเดินทางมาศูนย์ฟอกไตเกือบทุกวัน, ไตถูกทำลายน้อยกว่าผู้ป่วยจึงยังมีปัสสาวะอยู่, ไม่ต้องมีปัญหาเส้นฟอกไตตัน, ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ ผู้สูงอายุไม่ต้องเสี่ยงเสียชีวิต หรือ ความดันตก ขณะฟอกไต 

                                  อย่าเพิ่งปฎิเสธการล้างไตหน้าท้อง ก่อนที่เราจะรู้จักวิธีนี้ดีพอ

          นอกจากการฟอกไต หรือ ล้างไตทางหน้าท้องแล้ว การบำบัดทดแทนไต อีกวิธีหนึ่งก็คือ การปลูกถ่ายไต เป็นวิธีที่ผู้ป่วยไตวาย สามารถกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติ ไม่ต้องฟอกไต หรือ ล้างไตหน้าท้องอีกต่อไป เป็นความหวังสูงสุดของผู้ป่วย แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ การขาดแคลนไตที่จะนำมาปลูกถ่าย  มาทำความรู้จักการปลูกถ่ายไตกันนะครับ เพราะ คุณอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการปลูกถ่ายไต

ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ไตเทียม
ชีวา