อัมพาตรักษาให้หายได้!   ความสำคัญของการรักษา อัมพาต ก็คือ

 การเริ่มต้นฟื้นฟูกายภาพบำบัด ที่เร็ว ตั้งแต่เริ่มเป็นอัมพาต และที่สำคัญ ต้องทำอย่างถูกต้อง ตามแผนของนักกายภาพบำบัด คือการรักษาอัมพาตที่ดีที่สุด

  อัมพาตเป็นโรคที่เกิดจากการตายของเนื้อสมองบางส่วน ซึ่งอาจจะเกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบตัน หรือ หลอดเลือดในสมองแตก  เมื่อเนื้อสมองที่ตายนั้น ไม่สามารถทำงานสั่งการได้ เช่น แขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรง, ปากเบี้ยว, ไม่เข้าใจคำพูด หรือ พูดไม่ได้, กลืนอาหารไม่ได้, ชาครึ่งซีก 

        เนื้อสมองส่วนที่ตายนี้ จะไม่มีวิธีรักษาใดๆที่จะช่วยฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ แต่สมองของคนเรา ยังมีความมหัศจรรย์ในการปรับตัวที่ไม่น่าเชื่อ สิ่งนั้นก็คือ การเรียนรู้ใหม่ของสมองส่วนที่ยังมีชีวิตอยู่ (Neuroplasticity) ไปทำงานแทนสมองส่วนที่ตายไป คล้ายกับ สมองของเด็กที่เริ่มเรียนรู้การเดิน การเขียนหนังสือ  แต่การเรียนรู้นี้ จะ ต้องเกิดจากการสอนที่ถูกต้อง และต้องเริ่มเร็วในเวลาที่สมองยังอยากที่จะเรียนรู้ จึงเป็นที่มาว่า ทำไม การฟื้นฟูกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัด ที่เริ่มทำตั้งแต่เกิดอัมพาต หรือในช่วงไม่เกิน6เดือนแรกหลังเกิดอัมพาต  จึงสามารถรักษาอัมพาตได้

               ผู้ป่วยอัมพาต หลายคน ต้องเสียโอกาสการรักษาในช่วงเวลาสำคัญนี้ เพราะ ความไม่รู้  เรามาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับตัวโรคนี้กันนะครับ 


           ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตแล้ว บางคนเป็นมากจนไม่สามารถลุกนั่งเองได้ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยกลายเป็น ผู้ป่วยติดเตียง แขนขาลีบ

ขั้นตอนแรกของการทำกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถขยับแขนขาได้เอง ก็คือ การที่ ผู้ดูแลช่วย เคลื่อนไหวข้อต่อแขนขาให้ผู้ป่วย ด้วยวิธีที่ถูกต้องที่เรียกว่า Passive Exercise การปล่อยให้ผู้ป่วยที่อ่อนแรง ไม่ขยับแขนขานานๆสิ่งที่ตามมา ก็คือ กล้ามเนื้อลีบ, ข้อไหล่หลุด, สภาพจิตใจที่แย่ลง หมดกำลังใจ ส่งผลกระทบกับการทำกายภาพบำบัดในขั้นต่อไป 

       การทำกายภาพบำบัดในขั้นถัดมา ก็คือ การทำให้ผู้ป่วยลุกนั่งบนเตียงได้  ปัญหาของผู้ป่วยอัมพาต ไม่ได้มีแค่เรื่องแขนขาอ่อนแรง แต่กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว กล้ามเนื้อหลัง ก็มีปัยหาด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะทำให้ผู้ป่วยอัมพาตเดินได้ ผู้ป่วยอัมพาตก็ต้องเริ่มนั่งให้ได้ก่อน การนั่งของคนเรา ต้องอาศัยกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเพื่อใช้ในการทรงตัว ดังนั้น การฝึกให้ผู้ป่วยอัมพาตทรงตัว ให้ได้ก่อน จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยเดินได้

นอกจาการฝึกการทรงตัวของผู้ป่วยอัมพาตแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยเดินได้ ก็คือ กล้ามเนื้อแขนขาที่มีกำลัง และ มีความทนทาน ที่ดี จึงต้องมีการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขา เพื่อให้ผู้ป่วยอัมพาตมีกล้ามเนื้อแขนขาที่แข็งแรง และมีความคล่องแคล่ว

ผู้ป่วยอัมพาตที่มีการทรงตัวที่ดี, มีแขนขาที่แข็งแรง แต่ก็ยังมีปัญหาการเดินที่ไม่คล่องแคล่ว เป็นการเดินในท่าที่ผิดปกติ การปล่อยให้ผู้ป่วยเดินในท่าที่ผิดปกตินี้นานๆ ย่อมส่งผลเสียต่อ ปัญหากระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อในภายหลัง สาเหตุของท่าเดินที่ผิดปกติเกิดจากการควบคุมกล้ามเนื้อแขนขาที่ไม่สมดุล มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อแขนขา นักกายภาพบำบัด ก็จะวางแผนแก้ไข ท่าเดินที่ผิดปกติ จากการเกร็งตัวของแขนขา 

อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญของผู้ป่วยอัมพาตที่มีแขนขาอ่อนแรง ก็คือ การที่ผู้ป่วยอัมพาตสามารถลุก เดินได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้มือ หยิบจับ เขียนหนังสือได้ดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า  มือประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อมัดเล้กๆ และ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะมีการฟื้นตัวที่ไม่ดี การแก้ไขกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง จึงเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง ของการทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยอัมพาตบางคน มีปัญหากลืนอาหารไม่ได้ พูดไม่ชัด ไม่เข้าใจในสิ่งที่คุยกัน   ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เนื้อสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลืนอาหาร การพูด ถูกทำลาย นักกายภาพบำบัดก็จะวางแผนร่วมกับ นักฝึกการพูด เพื่อแก้ไขการพูด ความเข้าใจในการสื่อสาร หรือ วางแผนร่วมกับ นักกิจกรรมบำบัด ในการแก้ไขการกลืนอาหารที่มีปัญหา ปัญหาเหล่านี้เมื่อไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะส่งผลเสียอย่างมากต่อผู้ป่วย เช่น การสื่อสารไม่เข้าใจ ย่อมเกิดความเครียดกับ ผู้ป่วยและผู้ดูแล ผู้ป่วยกลืนอาหารไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหารทั้งชีวิต ก็ส่งผลถึงภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ แก้ไขได้ 

ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ไตเทียม
ชีวา
ชีวา
ชีวา