ใจสั่นจากโรคตื่นตระหนกหรือโรคหัวใจ รู้ได้ไง?

ใจสั่น ปัญหาที่คอยกวนใจ สร้างความกังวลให้กับหลายๆคน ก็เพราะว่า โรคนี้หมอมักจะหาสาเหตุไม่เจอ ไม่ใช่หมอไม่เก่งนะครับ แต่ปัญหาสำคัญของ โรคใจสั่น ก็คือว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ที่มีอาการใจสั่น มักจะเป็นเพียงชั่วครู่ เป็นแปปเดียวก็หาย ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยมาพบหมอ ก็มักจะไม่มีอาการใจสั่นนี้แสดงให้หมอเห็น ตรวจยังไงก็ไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ

มารู้จัก อาการใจสั่น กันก่อน ในภาวะที่ปกติ คนเราจะรู้เลยว่า หัวใจกำลังเต้นอยู่ จนลืมไปเลยว่าหัวใจกำลังบีบตัวตั้ง 80-90 ครั้งต่อนาที แต่การที่เรามารับรู้ถึงการเต้นของหัวใจ รู้สึกหัวใจเต้น สะดุด หรือ เต้นรัวเร็ว ก็ต่อเมื่อ หัวใจมีการเต้น ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นการเต้นที่เร็ว ที่แรงมากขึ้น หรือ เต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ หรือ เต้นแบบสะดุด หยุดเป็นพักๆ

การที่หัวใจเต้นด้วยจังหวะที่เปลี่ยนไปจากเดิม ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเป็นโรคหัวใจ เพราะว่า การที่หัวใจคนเราเต้นด้วยจังหวะที่เปลี่ยนไป ก็สามารถพบได้ทั้งในคนที่ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆเลย หรือ คนที่มีความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจ หรือ การที่หัวใจถูกกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่างในร่างกายโดยที่ ไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจเลย เช่น ความดันโลหิตต่ำลง ซีด ไทรอยด์เป็นพิษ สารเกลือแร่ผิดปกติ น้ำตาลต่ำ แต่ที่จะเล่าในครั้งนี้ก็คือ การที่ หัวใจถูกกระตุ้นจาก ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ โดยเฉพาะ การตกใจกลัวอย่างฉับพลัน ที่เรียกว่า โรคตื่นตระหนก หรือ โรคแพนิค (Panic attack)

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการใจสั่น นี้ เกิดจากโรคแพนิค หรือ เกิดจาก โรคหัวใจ ประการแรกเลย ถามตัวเองก่อนว่า เราเป็นโรคแพนิคหรือไม่?

โรคแพนิค เป็นโรคหรือ อาการที่เกิดจากความกลัว ความกลัวที่เราสร้างมันขึ้นมา มีทั้งแบบที่รู้ว่า กลัวอะไร และแบบที่ไม่รู้ว่า เรากลัวอะไร เช่น คนที่กลัวการขึ้นเครื่องบิน, กลัวที่ต้องอยู่ในที่แคบ, กลัวที่ต้องอยู่ในที่ผู้คนมากๆ ความกลัวที่ก่อตัวและเกิดขึ้นภายในเวลาอันรวดเร็วนี้ ก็จะไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ในร่างกาย ทำให้ร่างกายแสดงปฎิกริยาต่างๆออกมา ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ หัวใจเต้นเร็วขึ้น เต้นแรงขึ้น และอาการร่วมอื่นๆ เช่น มือเท้าชา มีนงง แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม จุกคอ เหงื่อแตก มือสั่น ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีลักษณะเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า เราอาจจะเป็นโรคแพนิค

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคแพนิค ก็มักจะมีอาการใจสั่นหลังเกิดอาการตกใจกลัว และมีอาการร่วมในข้างต้น ก็ทำให้สงสัยว่า อาการใจสั่นนั้นน่าจะเกิดจากโรคแพนิค

ประการที่สอง คือ ลักษณะของชีพจรขณะที่มีอาการใจสั่น ลักษณะดังกล่าว ได้แก่ อัตราการเต้นกี่ครั้งต่อนาที, ความสม่ำเสมอของจังหวะชีพจร โดย ผู้ป่วยที่ใจสั่นจาก โรคแพนิคก็มักจะมีชีพจรที่เร็ว เช่น 100-120 ครั้งต่อนาที และมีจังหวะการเต้นที่สม่ำเสมอ ในขณะที่ อาการใจสั่นที่เกิดจากโรคหัวใจ สามารถแสดงจังหวะการเต้นของชีพจรได้หลากหลายมาก ทั้งแบบ ชีพจรเต้นเร็ว เต้นช้า เต้นสม่ำเสมอหรือไม่สมำ่เสมอก็ได้ คือเป็นได้ทุกแบบ

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะสามารถบอกสาเหตุของอาการใจสั่นได้ดีที่สุดก็คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการใจสั่น ลักษณะหน้าตาของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยให้แพทย์บอกสาเหตุการใจสั่นได้อย่างแม่นยำ แต่การที่ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่โรงพยาบาลได้ทันก่อนที่อาการใจสั่นนั้นจะหายไป ก็มิใช่เรื่องง่าย ผู้ป่วยจึงมักจะไม่มีอาการใจสั่นแล้วในขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน หลายครั้งที่ผู้ป่วยจะได้รับการติดตั้งเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ24-48ชม( Holter monitoring) เอากลับบ้านไปด้วย เพื่อเฝ้าดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในช่วงเวลาที่ตรงกับอาการใจสั่นของผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยหลายคนที่ติดตั้งเครื่องติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี้แล้ว ไม่มีอาการใจสั่นเลย ก็ทำให้ผลของการตรวจนี้ ไม่สามารถบอกการวินิจฉัยโรคได้

การบันทึก ลักษณะชีพจร ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการใจสั่น ไม่ว่าจะเป็นการจับชีพจรที่ข้อมือ ข้อศอก ลำคอ แล้วดูว่า ชีพจรมีอัตราการเต้นกี่ครั้งต่อนาที มีความสม่ำเสมอของจังหวะชีพจรหรือไม่ หรือ มีการเต้นที่เป็นแบบเต้นสะดุดหยุดเป็นพักๆ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะสามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยสาเหตุของการใจสั่นได้ในเบื้องต้น

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไต
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม