อดอาหารแล้วทำไมน้ำหนักไม่ลด?

อ้วน ไม่ได้เป็นปัญหาแค่เรื่องรูปร่างเท่านั้น ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์เราถือกันว่า ความอ้วนเป็นโรค โรคที่ต้องจัดการ ลองสังเกตุคนใกล้ตัวก็ได้ ว่า คนอ้วน มักจะมีโรคใดโรคหนึ่งแถมเข้ามาเสมอ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจ ที่ว่าใครเป็น เบาหวาน หรือ ความดันสูง หมอก็มักจะแนะนำ ให้ผู้ป่วย ลดน้ำหนัก

พราะการลดน้ำหนัก เป็นวิธีหนึ่งในการรักษา เบาหวาน ความดันสูง หรือ แม้แต่ โรคหัวใจ

การลดน้ำหนัก เป็นเรื่องของ ผู้ป่วยเอง ไม่มีใครมาช่วยได้ ไม่มียาวิเศษ ที่จะทำให้น้ำหนักลง, แม้จะมีการผ่าตัดลดความอ้วน แต่ก็ใช้กับคนบางคนที่จำเป็น และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง ปัญหาหนึ่งของการลดน้ำหนัก ก็คือ

ผู้ป่วยอดอาหารแล้ว น้ำหนักไม่ลงสักที

6 ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักไม่ลงสักที ทั้งที่ผู้ป่วยพยายามคุมอาหารแล้ว

1 ผู้ป่วยลดมื้ออาหาร แต่ยังคงทานอาหารจุกจิก

ผู้ป่วยหลายคน พยายามลดน้ำหนักด้วยการ ทานอาหารแค่วันละมื้อ แต่ด้วยความ ไม่คุ้นเคยกับหิวที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ประกอบกับคนที่มีพฤติกรรมการกินที่จุกจิก ทำให้ผู้ป่วยก็จะเผลอ ทานขนม ของขบเคี้ยว เครื่องดื่มรสหวาน ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน แตงโม สับประรส ในระหว่างมื้ออาหาร กลายเป็นว่าปริมาณพลังงาน หรือ อาหารที่ได้รับในแต่ละวัน สูงมากกว่าตอนที่ ผู้ป่วยทานอาหารวันละ 3มื้อซะอีก ดังนั้น หมอแนะนำให้ในช่วงแรกของการลดน้ำหนัก ให้ทานอาหารครบ3มื้อ เน้นความสำคัญที่มื้อเช้า และต้องเป็นอาหารประเภทโปรตีน เช่นเนื้อ นม ไข่ มีผักสดที่มีกากใยมากๆ ลดปริมาณอาหารในมื้อเย็นลง ส่วนระหว่างมื้ออาหาร ให้ทานได้เฉพาะ น้ำเปล่า หรือ เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาล เช่น ชา, กาแฟดำ

2 ผู้ป่วยลดอาหารมากเกินในเวลาอันสั้น

ผู้ป่วยบางคน ใจร้อนต้องการให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการอดอาหารอย่างมาก ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะเห็นผลของการลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็ว แต่การอดอาหารอย่างมาก จนร่างกายเข้าสู่ภาวะของการขาดอาหาร (Starvation) สิ่งที่ตามมาก็คือ ร่างกายมีการสูญเสียกลามเนื้อ แต่ในขณะที่ร่างกายกลับมีการสะสมไขมัน เพื่อเก็บไขมันนี้เป็นพลังงานสำรอง ส่งผลให้ ร่างกายต้องปรับตัวให้มีการใช้พลังงานสำรองนี้ให้ช้าที่สุด ประกอบกับ มวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง ยิ่งทำให้ระบบการเผาพลาญพลังงานในร่างกายช้าลง ในเวลาต่อมาเมื่อผู้ป่วยที่ทนความหิวไม่ไหว แล้วกลับมาทานอาหารมากขึ้น แต่ด้วยระบบการเผาผลาญถูกทำให้ช้าลง ทำให้ อาหารหรือพลังงานที่ได้รับ ถูกเผาผลาญช้าลง จน มีพลังงานเหลือและสะสมเป็นไขมันมากขึ้นทำให้น้ำหนักที่เพิ่งลดลง กลับดีดตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า ปรากฎการณ์ โยโย (Yo Yo effect)

3 ผู้ป่วยงดอาหารมื้อเช้า

อาหารเช้า เป็นมื้อที่สำคัญที่สุดในแต่ละวัน หลังจากตื่นนอน เป็นเวลาที่ร่างกายขาดสารอาหารมามากกว่า10ชั่วโมง อาหารในตอนเช้าหลังตื่นนอน จึงเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการมาก การที่ คนเรา งดอาหารมื้อเช้าไป ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายขาดอาหารนานขึ้น เกิดอาการหิว อ่อนเพลีย ตลอดวัน ทำให้การควบคุมอาหารในวันนั้น มีความยากลำบากมากขึ้น ในทางกลับกัน คนที่ทานมื้อเช้า และทานอาหารประเภท โปรตีน เนื้อ นม ไข่ และ ผัก อาหารประเภทนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิความหิวที่ช้าลง ทำให้ง่ายต่อการควบคุมอาหารในวันนั้น

4 ผู้ป่วยไม่ออกกำลังกาย

ถึงแม้ว่า การออกกำลังกาย ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ น้ำหนักลด แต่การออกกำลังกาย จะช่วยให้ กล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้งาน มีความแข็งแรง มีมวลกล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะที่มีการใช้พลังงานสิ้นเปลืองมาก ยิ่งใครที่มีกล้ามเนื้อมาก ร่างกายก็ยิ่งมีการใช้พลังงานมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดพลังงานส่วนเกินจากอาหารที่ทานเข้าไปก็ยิ่งจะน้อยลง ดังนั้นคนที่มีกล้ามเนื้อโตก็จะอ้วนช้ากว่าคนที่มีกล้ามเนื้อน้อย จะเห็นว่า คนเราพออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อก็จะสลายไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำใก้คนที่อายุมากขึ้นจะอ้วนได้ง่ายกว่าคนอายุน้อย ดังนั้นการทำให้ร่างกายมีกล้ามเนื้อที่มาก นอกจากจะเกิดจากการ ทานอาหารโปรตีนเยอะแล้ว ก็ต้องทำร่วมกับการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน Resistance weight Exercise เช่น การยกน้ำหนัก, การวิดพื้น, การกระโดดเชือก,การเดินขึ้นทางชัน ดังนั้นจึงแนะนำให้ออกกำลังแบบมีแรงต้าน 3-4ครั้งต่อสัปดาห์ สลับกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

5.ผู้ป่วยอดนอน

มีการศึกษาชัดเจนว่า การอดนอน จะยิ่งทำให้ ผู้ป่วยอ้วนง่ายขึ้น โดยในคนที่อดนอน เช่นนอนน้อยกว่า 7ชั่วโมงต่อคืน จะพบว่า ฮอร์โมนความหิว(Ghrelin) สูงขึ้นในขณะที่ ฮอร์โมนที่ทำให้คนเรารู้สึกอิ่ม(Leptin)กลับลดดลง อีกทั้ง สมองของคนที่อดนอน ก็จะสั่งให้คนคนนั้น เลือกกินอาหารประเภ?แป้ง น้ำตาลมากขึ้นไปอีก สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหิวทั้งวัน และ ไม่สามารถควบคุมการเลือกกินอาหารได้ ทำให้การคุมอาหารในวันนั้นทำได้ยากขึ้น ผมแนะนำให้ผู้ป่วยใช้กฎ 1-2-3 ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมตัวที่จะนอนได้ดี คือ เลข3 บอกถึง การหยุดงานที่ทำ 3ชั่วโมงก่อนนอน เลข2 บอกถึง การไม่ทานอาหาร หลัง 2ชั่วโมงก่อนนอน เลข3 บอกถึง การหยุดการใช้โทรศัพท์ การดูทีวี ในช่วงเวลา1ชั่วโมงก่อนที่จะนอน

6.ผู้ป่วยมีภาวะเครียด

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การที่คนเรามีภาวะเครียด กังวล จะทำให้ร่างกายหลั่งสารความเครียด Cortisol มากขึ้น สารนี้ ทำให้ร่างกาย มีการเผาผลาญไขมันลดลง และ มีการทานอาหารมากขึ้น ดังนั้น การจัดการความเครียด ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดตามทางที่ตัวเองถนัด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นขั้นตอนหนึ่งของการลดน้ำหนัก

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไต
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม