Ep182 น้ำตาลต่ำจากการออกกำลังกายในเบาหวานป้องกันยังไง?

โรคที่จะเกิดตามมาอีกมากในคนเป็น เบาหวาน ก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, ไตวาย, อัมพาต,ตาบอด การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ตามมา ก็คือ การออกกำลังกาย มีการศึกษาออกมามากมายว่า การออกกำลังกายสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือด ลดการเกิดโรคเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้คุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น

แต่ คนเป็น เบาหวาน ต่างจาก คนทั่วไปตรงที่ คนเป็นเบาหวาน จะมีปัญหาเรื่องการทำงานของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลให้ คงที่ เป็นไปได้ยาก ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน จึงมักจะแกว่งไปมา เดี๋ยวสูง เดี๋ยวต่ำ ยิ่งผู้ป่วยที่กินยาเบาหวาน หรือ ฉีดอินซูลินอยู่ มาออกกำลังกาย ร่างกายมีการใช้พลังงานมากขึ้นกว่าปกติ โอกาสที่จะเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ จนเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา ผู้ป่วยเบาหวานหลายคน จึงไม่อยากออกกำลังกาย ซึ่งแน่นอน ย่อมทำให้ โรคเบาหวานนั้นแย่ลง

คำแนะนำการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

1 คุยกับแพทย์ที่ดูแลก่อน ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์ว่า ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้แค่ไหน เพราะ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ยังไม่ได้รับการรักษา ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือ ผู้ป่วยบางคน อาจจะยังอยู่ในช่วงปรับยา เพราะมีปัญหา ระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่ปลอดภัย

2 ตรวจน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาเบาหวาน หรือ ฉีดอินซูลิน ควรตรวจระดับน้ำตาล ก่อนออกกกำลังกาย 15-30นาที

ถ้าผลระดับน้ำตาลออกมาต่ำ คือ น้อยกว่า 100มก/ดล ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำตาลต่ำ ในขณะออกกำลังกาย การกินน้ำผลไม้, ผลไม้สดๆ, แครกเกอร์ หรือ ลูกอมก่อนออกกกำลังกาย ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง

ผลระดับน้ำตาล ดี คือ 100-250 มก/ดล เป็นระดับน้ำตาลที่ สามารถออกกำลังกายได้

ผลระดับน้ำตาลสูง คือ มากกว่า 250 มก/ดล ระดับนี้ อันตรายต่อการออกกำลังกาย เพราะอาจจะเป็นสัญญาณหนึ่งว่า ร่างกายผู้ป่วยมี ระดับอินซูลินไม่พอ ทำให้ขณะออกกำลังกาย ร่างกาย จะไปดึง ไขมันมาเป็นพลังงาน ทำให้เกิดสาร คีโตน ตามมา ซึ่งถ้ามีสารนี้มากไปก็ทำให้ร่างกายมีความเป็นกรดได้ การตรวจระดับคีโตน ในปัสสาวะก็จะช่วยบอกเราได้

3 ออกกำลังกายหลังอาหาร ผู้ป่วยควรออกกกำลังกาย หลังกินอาหารไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง เพราะเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาล สูงหลังมื้ออาหาร

4 ดูอาการขณะออกกำลังกาย สังเกตุอาการ น้ำตาลในเลือดต่ำ ขณะออกกำลังกาย ถ้ามีแผนว่าจะออกกำลังกายนานหรือหนัก ขึ้น หรือ ผู้ป่วยที่จะเริ่มออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลทุก30นาที ขณะออกกำลังกาย ก็มีความจำเป็น

ถ้าระดับน้ำตาลต่ำกว่า 70 มก/ดล หรือ มีอาการ หน้ามืด อ่อนเพลีย ต้องหยุดออกกำลังกาย รีบแก้ ภาวะน้ำตาลต่ำ ด้วยการดื่มน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่แบบมีน้ำตาล หรือ อมลูกอม หลังจากนั้น 15นาที ตรวจระดับน้ำตาลซ้ำ ทุก15นาที จนกว่า ระดับน้ำตาลจะสูงมากกว่า 70มก/ดล

5 หลังออกกำลังกาย ก็ต้องดูอาการ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำหลังหยุดออกกำลังกายไปแลัว 4-8 ชั่วโมงได้ เพราะว่า ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะดึงน้ำตาลจากกล้ามเนื้อ จากตับ ไปใช้เป็นพลังงาน และหลังจากหยุดออกกำลัง ร่างกายก็จะดึงน้ำตาลในเลือดกลับเข้ามาที่กล้ามเนื้อและตับ ทดแทนน้ำตาลที่ใช้ไปในขณะออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลหลังออกกำลังกายจึงมีความสำคัญ

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา