Ep186 ผ่าตัดเส้นฟอกไต เบิกประกันสังคมได้ไหม?

ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ต้องเริ่มวางแผนแล้วนะครับว่า จะเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไต แบบไหน จะเลือก ฟอกไตทางหลอดเลือด หรือ ล้างไตทางหน้าท้อง  ใครที่เลือก ฟอกไตทางหลอดเลือด ก็ต้องเตรียมหาที่ ผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขน แล้วนะครับ หลายคนอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับ การผ่าตัดเส้นฟอกไต 

             ทำไมต้องรีบผ่าตัดเส้นฟอกไต? 

            ไม่ผ่าตัดเส้นฟอกไตจะเป็นยังไง?

             ผ่าตัดเส้นฟอกไตแบบไหนดี?

คำถามเหล่านี้มี คำตอบในคลิปวิดิโอที่ผ่านมา ถ้าสนใจก็  คลิกชมวิดิโอเหล่านี้ดูนะครับ 

         สำหรับ ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ที่เลือก ฟอกไตทางหลอดเลือด ตาม ประกาศของ คณะกรรมการแพทย์ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม เมื่อ 27 สิงหาคม 2562  ในหัวข้อ5 ของประกาศนี้ กล่าวว่า  ” ผู้ประกันตนมีสิทธิเตรียม หลอดเลือด หรือ สายสวนหลอดเลือด สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการแพทย์พร้อมอุปกรณ์ให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา   ไม่เกิน20,000บาทต่อรายต่อ 2ปี ”     คลิกดูประกาศ

        ประกาศนี้เป็นการแจ้งสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยประกันสังคม จึงควรทำความเข้าใจให้ดี และ ผมเชื่อว่า ผู้ป่วยหลายท่านคงมีคำถามตามมามากมายกับประกาศนี้

ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ถาม: เตรียมหลอดเลือด หรือ สายสวนหลอดเลือด คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

ตอบ: 1. คำว่า เตรียมหลอดเลือด  หมายถึง  การผ่าตัดเส้นฟอกไตแบบถาวร  ซึ่งเป็นวิธีหลักที่ศัลยแพทย์หลอดเลือด จะใช้ผ่าตัด หลักการผ่าตัด ก็เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำที่แขนให้มีทางที่เชื่อมต่อกันได้ หรือที่เรียกว่า ผ่าตัดเส้นฟอกไตแบบเส้นจริง หรือ AVF 

ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ส่วน ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขนาดเล็ก ไม่สามารถผ่าตัดแบบเส้นเลือดจริงได้ ศัลยแพทย์หลอดเลือด ก็จะเลือก วิธีผ่าตัดโดยใช้ หลอดเลือดเทียม เข้ามาเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำของผู้ป่วย หรือ AVG  หลอดเลือดเทียมนี้ เป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดพิเศษสามารถฝังในตัวผู้ป่วยได้   คลิก! ดูรูปแบบการผ่าตัดเส้นฟอกไต 

ผ่าตัดเส้นฟอกไต

2. คำว่า เตรียมสายสวนหลอดเลือด   หมายถึง การใส่วัสดุทางการแพทย์ที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า DLC   โดยแพทย์จะแทงหลอดเลือดบริเวณด้านข้างลำคอ เพื่อสอดใส่ท่อดังกล่าว จึงไม่ต้องผ่าตัด หลังเสร็จสิ้นการใส่ท่อนี้แล้ว ปลายท่อนี้ก็จะโผล่ให้เห็นบริเวณคอของผู้ป่วยตลอดเวลา ซึ่งจะทำในรายที่ผู้ป่วยไตวาย ที่ต้องฟอกไตทางหลอดเลือด แต่ ผู้ป่วยมิได้มีการผ่าตัดเส้นฟอกไตรอไว้ก่อน จึงมักจะเป็นหัตถการที่ต้องทำในภาวะฉุกเฉิน และท่อนี้ก็อยู่ได้ชั่วคราวคือ 1เดือน หลังจากนั้นก็จะเกิดปัญหา ท่อตัน หรือติดเชื้อ จนไม่สามารถใช้งานได้

ส่วนการเตรียมสายสวนหลอดเลือดอีกแบบหนึ่งเรียกว่า สายฟอกไตที่คอแบบฝังหน้าอก หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Perm Cath ก็จะมีลักษณะคล้ายกับ สายสวนฟอกไตที่คอแบบชั่วคราว ข้างต้น คือ มีการผ่านสายที่หลอดเลือดด้านข้างลำคอเหมือนกัน, ปลายสายก็ยังมีการโผล่ออกมาภายนอกร่างกายเหมือนกัน  แต่ต่างกันตรงที่ Perm Cath มีขนาดท่อที่ใหญ่กว่า และจะมีการฝังบางส่วนของสายใว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้าและโผล่ปลายสายที่หน้าอก คลิก! ดูประเภทการเตรียมสายสวนฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ถาม:  การผ่าตัดแบบไหนบ้างที่เบิกได้  แล้ว ระยะเวลา2ปี นับจากเมื่อไหร่?

ตอบ:   จากเนื้อหาในประกาศนี้ บอกว่า ไม่ว่าผู้ป่วยจะการผ่าตัดเส้นฟอกไตแบบไหน หรือ วางท่อฟอกไตแบบไหน จะทำกี่แบบ หรือทำกี่ครั้งในช่วงระยะเวลา2ปีนับตั้งแต่วันที่ผู้ป่วยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทดแทนจากการบำบัดทดแทนไต จากสำนักงานประกันสังคม ก็จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ในวงเงิน ไม่เกิน 20,000บาท ถ้าเกินกว่านี้ ผู้ป่วยก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง

              ผมจะขอยกตัวอย่างจากผู้ป่วยบางรายที่พบกับปัญหาค่าใช้จ่ายในการเตรียมเส้นฟอกไตที่บานปลาย จนผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายเองจำนวนมาก

                        นาย สมชาย  เป็นไตวายระยะที่5 แพทย์แนะนำให้ไปเตรียมผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขน แต่ด้วยความเข้าใจผิดว่า ตัวเองยังไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร ประกอบกับความกลัวการผ่าตัด คิดไปเองว่า การผ่าตัดเส้นเลือด นั้นอันตราย ก็เลยผ่อนผันไปเรื่อย ไม่ยอมไปผ่าตัด 

                     จนมาวันหนึ่ง นาย สมชาย เกิดอาการน้ำท่วมปอด จนต้องเข้าโรงพยาบาลแบบฉุกเฉิน แพทย์วินิฉัยว่าเป็นภาวะน้ำเกินต้องฟอกไตด่วน แต่ผู้ป่วยไม่ได้ไปผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขนรอไว้ก่อน แพทย์จึงต้อง แทงท่อที่ด้านข้างของคอ ที่เรียกว่า DLC เพื่อฟอกไต เสียค่าใช้จ่ายไป ประมาณ 20,000บาท พอฟอกไตไปได้2-3วัน  อาการดีขึ้น แต่แพทย์บอกว่า 

                                สมชายเป็น ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แล้วถึงเวลาที่ผู้ป่วยต้องรับการฟอกไตแบบตลอดชีวิต 

             ปัญหาคือ ท่อฟอกไตที่คอตอนนี้ จะอยู่ได้ แค่1เดือน  และ นาย สมชาย ต้องไปผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขนแบบถาวร  แต่ เส้นฟอกไตที่ได้จากการผ่าตัดที่แขน ต้องรอเวลาหลังผ่าตัดอีก1-2เดือนกว่าเส้นฟอกไตจะโตและแข็งแรงพอ  แต่ ร่างกายของสมชาย รอไม่ได้ ต้องฟอกไตตลอด  แพทย์จึงต้องใช้วิธีอื่น คือ การแทงคอโดยฝังท่อฟอกไตที่หน้าอก ที่เรียกว่า Perm Cath ซึ่งจะสามารถใช้ได้อีก1ปี นายสมชายก็เสียค่าใช้จ่ายไปอีก 50,000บาท  ในเมื่อท่อฟอกไต แบบ Perm Cath ใช้งานได้แค่1ปี หลังจากใส่ท่อฟอกไตแบบPerm Cath ไปแล้วระยะหนึ่ง นายสมชาย ก็ยังต้องมาผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขน อีก เสียค่าใช้จ่าย 20,000บาท สรุปในช่วงเวลา2ปีนี้ สมชาย ต้องจ่าย  90,000บาท กว่าจะได้ เส้นฟอกไตที่แขนมา  ซึ่งถึงแม้ว่า สมชาย จะจ่ายค่าเส้นฟอกไต ไปมากเท่าไรก็ตาม  สำนักงานประกันสังคมก็จะจ่ายได้ในวงเงิน ไม่เกิน 20,000บาท ในช่วงเวลา2ปี    เหล่านี้ คือ ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่ ผู้ป่วยไม่ควรเสียยัง ไม่รวมความเสี่ยงจากการแทงท่อฟอกไต ที่ คอ หรือ ที่อกอีก       ซึ่งถ้า สมชาย ดิ้นรน ไป ผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขนตั้งแต่แรกตามที่ แพทย์แนะนำ สมชาย ก็จะมีเส้นฟอกไตที่แขนแบบถาวร จากการผ่าตัดเจ็บตัวครั้งเดียว  และก็จะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงิน  20,000บาท ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

                              ดังนั้นเมื่ออายุรแพทย์โรคไต แนะนำให้ท่าน ซึ่งเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะที่5 ไปเตรียมตัว ผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขน ถึงแม้ว่าท่านจะยังไม่มีอาการผิดปกติอะไร ท่านก็ควรจะรีบ ไปติดต่อโรงพยาบาล คลินิก ที่ท่านสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ ซึ่งท่านอาจจะต้อง สำรองค่าใช้จ่าย แล้วจึงติดต่อสำนักงานประกันสังคม เพื่อเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิ 

ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา