Ep193 5คำถาม ผ่าตัดลิ้นหัวใจ

1 เป็นโรคลิ้นหัวใจ จะต้องผ่าตัดเมื่อไหร่?

วิธีการหลักในการรักษา โรคลิ้นหัวใจ ก็คือการผ่าตัด แล้วคนเป็นโรคนี้ จะต้องผ่าตัดเมื่อไหร่?

โดยทั่วไป การผ่าตัด จะกระทำก็ต่อเมื่อ ลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกตินั้น มีความผิดปกติในระดับที่รุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นหัวใจรั่วระดับรุนแรง หรือ ลิ้นหัวใจตีบระดับรุนแรง ซึ่งเมื่อตัวโรคมีความผิดปกติในระดับที่รุนแรงแล้ว ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็น เช่น เหนื่อยง่าย, หอบ, นอนราบไม่ได้ ที่เรียกว่า ภาวะน้ำท่วมปอด แต่ ผู้ป่วยอีกหลายคน ที่มีโรคลิ้นหัวใจที่รุนแรงจนหัวใจโต แต่กลับไม่มีอาการแสดงให้เห็น การที่แพทย์จะบอกได้ว่า โรคลิ้นหัวใจมีความรุนแรงแค่ไหน ก็ต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซ์เรย์ปอด จนถึงขั้นตรวจหัวใจด้วยเครื่อง เอคโค Echocardiogram การตรวจ เอคโค นี้ ทำให้แพทย์ ทราบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ, ระดับความรุนแรงของ โรคลิ้นหัวใจ รวมทั้งความแข็งแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ข้อมูลจากการตรวจนี้ ทำให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้

2 เราควรเลือกการผ่าตัดแก้ไขแบบผ่าตัดซ่อมแซมลิ้น หรือ จะผ่าเปลี่ยนลิ้นเทียมไปเลย?

ผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจไม่ว่าจะเป็นลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ตาม ถ้าความผิดปกติของลิ้นหัวใจนั้น มีความรุนแรงมาก การรักษาก็ต้องใช้การผ่าตัดเข้าไปแก้ไข เปรียบเสมือน ยางรถยนตืที่รั่ว จะแก้ไขก็ต้องถอดล้อเอาไปปะซ่อม หรือ เปลี่ยนล้อใหม่ คำถามหนึ่งที่ผู้ป่วย ถามกันเข้ามามาก ก็คือ

ตอบแบบเร็วๆ ก็คือว่า ผ่าตัดแบบซ่อมแซมลิ้น จะเป็นวิธีแรกที่ ศัลยแพทย์จะเลือก เพราะ การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้น ไม่ได้มีการใส่ ลิ้นเทียมที่มีส่วนประกอบของโลหะ ทำให้วิถีชีวิตของ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้น ไม่ได้แตกต่างจากคนปกติมาก ไม่ต้องกินยาอะไร การดูแลตัวเองก้ไม่ได้มีความซับซ้อนมาก เมื่อเทียบกับ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม ดังนั้น การผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ด้วยวิธี ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จึงเป็นวิธีสุดท้ายที่ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก จะเลือก ด้วยเหตุผลที่ว่า ลิ้นหัวใจของผู้ป่วยมีความผิดปกติมากจนไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้

3 ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ จะเลือกลิ้นหัวใจแบบไหนดี?

ลิ้นหัวใจเทียม โดยทั่วไปมี2แบบหลัก คือ แบบที่ตัวลิ้นหัวใจประกอบด้วยโลหะและแบบที่ตัวลิ้นหัวใจทำจากเนื้อเยื่อจากสัตว์ เช่น จากเยื่อหุ้มหัวใจหมูหรือ วัว จุดเด่นที่สำคัญมากของการใช้ลิ้นหัวใจชนิดเนื้อเยื่อก็คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ไม่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งเมื่อไม่ต้องกินยาเหล่านี้ ก็ทำให้วิถีชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัด แทบใกล้เคียงกับคนทั่วไป แต่ข้อเสียที่สำคัญของการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อก็คือ ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อจะมีอายุการใช้งาน ประมาณ10ปี ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ป่วยที่ผ่าตัดไป10ปีแล้ว โอกาสที่จะต้องกลับมารับการผ่าตัดใหม่ก็จะสูงมาก เมื่อเทียบกับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมแบบโลหะ ซึ่งมักจะมีอายุการใช้งานยาวนาน หลายสิบปี จึงเป็นเหตุผลที่ว่า การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในผุ้ป่วยที่มีอายุมากกว่า65ปี แพทย์มักจะเลือกการใส่ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อ

4 ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจแบบโลหะ ไปแล้ว ชีวิตจะเปลี่ยนไปขนาดไหน?

1 ต้องเป็นคนที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ผู้ป่วยต้องระลึกเสมอว่า เราใช้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกผิดปกติก็จะสูงมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น ก่อนการจะผ่าตัดหรือถอนฟันก็ต้องแจ้งแพทย์ทราบก่อนเพื่อวางแผนหยุดยาและเตรียมตัวก่อนผ่าตัด , เมื่อได้รับอุบัติเหตุก็ต้องรู้จักแจ้งแพทย์ที่แผนกฉุกเฉิน, การหลีกเลี่ยง การบีบนวดที่รุนแรง, เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ, การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ รวมทั้งการรู้จักสังเกตุอาการผิดปกติที่เกิดจากเลือดออกผิดปกติ เช่น การถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ, ประจำเดือนที่มากผิดปกติ

2 ต้องเป็นคนที่มีวินัยในการใช้ยามากขึ้น เพราะความอันตรายของยาละลายลิ่มเลือดที่ใช้อยู่ กินมากไปก็เสี่ยงเลือดออก กินน้อยไปก็เสี่ยงที่จะเกิดอัมพาต เกิดลิ่มเลือดเกาะที่ลิ้นหัวใจเทียม ผู้ป่วยจึงต้องกินยาให้ใกล้เคียงเวลาเดิมในทุกวัน อีกทั้ง ขนาดยาที่ใช้อยู่ก็จะมีการปรับเปลี่ยนขนาดอยู่ตลอด ผู้ป่วยจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดของการใช้ยาให้มากขึ้นเป็นพิเศษ

3 ต้องไม่เบื่อที่จะมาพบแพทย์ หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เป็นระยะ ตลอดชีวิต เพราะว่า ขนาดของการใช้ ยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จะต้องปรับตามผลเลือด ที่เรียกว่า INR ซึ่งควรจะมีค่าระหว่าง 2.0-2.5 แต่ปัญหาก็คือว่า ฤิทธิของยาละลายลิ่มเลือดคาดเดาได้ยาก หมายความว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ฤิทธิ์ของยาสูงขึ้นหรือลดลง เช่น การกินอาหารบางอย่างเช่น ผักใบเขียว, หรือ ยาอื่นๆที่ใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จึงต้องนัดหมายให้ผู้ป่วยต้องมาเจาะเลือดทุกครั้งเมื่อมาพบแพทย์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มยา

4 ต้องเป็นคนที่รู้จักการวางแผนมากขึ้น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายได้รับเชื้อเข้ามาทางกระแสเลือด เช่น การถอนฟัน, การส่องกล้องตรวจลำไส้ ดังนั้น ก่อนการตรวจรักษาเหล่านี้ แพทยืก้มักจะให้ผู้ป่วยกินยาฆ่าเชื้อก่อนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

5 ต้องไม่เป็นคนขี้รำคาญ หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมแบบโลหะ ผู้ป่วย จะได้ยินเสียง คลิก ๆ จากการปิดเปิดของลิ้นหัวใจเทียม อยู่ตลอดเวลา เสียงนี้ อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญในผู้ป่วยบางคนได้ แต่เสียงเหล่านี้ ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติอะไร แต่กลับเป็นสัญญาณที่บอกเราอย่างคร่าวๆว่า ลิ้นหัวใจเทียมนี้ยังทำงานได้ดี

6 ไม่ควรตั้งครรภ์ ยาละลายลิ่มเลือดเป็นยาที่มีผลต่อ ทารกในครรภ์มาก สามารถทำให้ทารกเกิดความพิการได้ ดังนั้น หลังจากที่ผู้ป่วยเพศหญิง ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จึงมักจะห้ามเรื่องการมีบุตร ผู้ป่วยจึงควรทราบข้อจำกัดนี้ และจะได้วางแผนก่อนการผ่าตัดให้เหมาะสม

5 ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจไปแล้วจะต้องระวังอะไรบ้าง?

1 อัมพาต ซึ่งมักจะเกิดจากเกิดลิ่มเลือดที่ก่อตัวในห้องหัวใจ หรือ เกาะที่ลิ้นหัวใจ ลอยขึ้นไปอุดที่สมอง ลิ่มเลือดเหล่านี้ อาจจะเกิดจาก การที่ผู้ป่วยมีลิ้นหัวใจเทียมแบบโลหะ ซึ่งถือว่าเป็น สิ่งแปลกปลอม และเป็นตัวก่อให้เกิดการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดในหัวใจ หรือ อาจจะเกิดร่วมกับ ภาวะหัวใจเต้นพริ้วระรัว ที่เรียกกันว่า AF ทั้ง2ปัจจัยนี้ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจทั้งสิ้น ดังนั้นการกินยาละลายลิ่มเลือดในขนาดที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีที่สามารถป้องกันอัมพาตได้

2 น้ำท่วมปอด จาก ลิ้นหัวใจไม่ทำงาน

ผู้ป่วยบางราย อาจะเกิดลิ่มเลือดเกาะที่ลิ้นหัวใจ หรือ เกิดเนื้อเยื่อก่อตัวในลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจปิดเปิดไม่ได้สมบรูณ์ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิดไม่ดี ที่เรียกว่า ลิ้นหัวใจตีบ หรือ ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ที่เรียกว่า ลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งในรายที่มีความรุนแรงมากก็สามารภทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ที่เรียกว่า น้ำท่วมปอด การตรวจด้วยเครื่องเอคโค ก็จะสามารถบอกปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในบางรายอาจจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดอีกครั้ง

3 ไข้เรื้อรังจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจเทียม ไม่ว่าจะเป้นแบบเนื้อเยื่อ หรือ แบบโลหะ ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้ เนื่องจากลิ้นเหล่านี้ ไม่มีระบบป้องกันการติดเชื้อเหมือนลิ้นหัวใจจริงๆ โดยจะพบได้ใน ผู้ป่วยหลังถอนฟัน, ใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น, ผู้ป่วยหลังส่องกล้องหรือหลังผ่าตัดทางลำไส้ หรือทางสูตินรีเวช การวางแผนกินยาฆ่าเชื้อก่อนการผ่าตัด จึงสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต
ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม