กินยาลดไขมันแล้วปวดกล้ามเนื้อ ทำไงดี?

ยาลดไขมัน ที่ผมจะพูดถึงนี้ เป็นยาที่ใช้ลดไขมัน คอเลสเตอรอล โดยยาที่ใช้กันเป็นหลัก ก็เป็นยาในกลุ่มที่ชื่อว่า กลุ่มยา สแตติน (Statin) เช่น ซิมวาสแตติน, อโทวาสแตติน บรรดาชื่อยาที่ลงท้ายด้วย คำว่า “สแตติน”ทั้งหลาย เป็นที่เข้าใจกันนะครับว่า ครั้งนี้ ผมจะพูดที่เกี่ยวกับยาลดไขมัน กลุ่มนี้

คำถามที่ถามกันมากก็คือว่า ไม่กินยาลดไขมันได้ไหม ? ผู้ป่วยที่ไม่อยากกินยา ก็มีเหตุผลที่หลากหลาย

บางคนกลัวเรื่องผลข้างเคียงของยา โดยเฉพาะอาการปวดกล้ามเนื้อ

บางคนกลัวกินยาแล้วไตจะวาย

บางคนมีความเชื่อว่า ออกกำลังกายได้ก็ไม่ต้องกินยา

ครั้งนี้มาตอบคำถามกันทีละข้อนะครับ

1 ไม่กินยาลดไขมันได้ไหม?

ปัญหาหลักที่ตามมา จากระดับ คลอเรสเตอรอลที่สูง ก็คือ การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ดังนั้น การที่แพทย์ตัดสินใจเริ่มให้ผู้ป่วยใช้ยาลดไขมัน กลุ่ม สแตติน แพทย์ไม่ได้ดูที่ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดเท่านั้น ปัจจัยหลักที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจใช้ยาลดไขมัน สแตติน ก็คือ การที่แพทย์ พิจารณาแล้วว่า ผู้ป่วยคนนั้น เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่เป็นเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,สูบบุหรี่ ใครที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ อัมพาต กลุ่มคนเหล่านี้ มีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมากกว่าคนทั่วไป ในอนาคตได้มากน้อยแค่ไหน หมายความว่า ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันสูงเท่ากัน แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จาก คลอเรสเตอรอลนั้นไม่เท่ากัน ใครที่เป็นเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,สูบบุหรี่ ใครที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ อัมพาต กลุ่มคนเหล่านี้ มีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ แพทย์ก็จะเข้มงวดในการที่จะเริ่มใช้ยาสแตติน เร็ว และ ลดระดับคลอเรสเตอรอลให้ลง ต่ำกว่า 70 จึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางในการลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอลให้ได้ ซึ่งวิธีการใช้ยาก็เป็นวิธีหนึ่ง ส่วนวิธีการไม่ใช้ยา ก็คือการออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร ซึ่งในผู้ป่วยที่เลือกจะไม่ใช้ยาลดไขมัน ก็ต้องอาศัย การเปลี่ยนนิสัยการกินอาหาร การ ออกกำลังกาย อย่างน้อย 5วันในแต่ละสัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า30นาที ซึ่ง การที่ผู้ป่วยจะลดไขมันในระดับที่ปลอดภัยด้วยวิธีการไม่ใช้ยา จะสามารถทำได้หรือไม่ ก็ต้องอาศัยการตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อมั่นใจว่า ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ดี

กินยาแล้วปวดกล้ามเนื้อ จะทำไง?

ภาวะแทรกซ้อนจากการปวดกล้ามเนื้อ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก แล้ว อาการปวดกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากยากลุ่มสแตติน ก็มีตั้งแต่ ปวดเล็กน้อยพอรำคาญ ไปจนถึงขั้น กล้ามเนื้ออักเสบขั้นรุนแรง จนสารในกล้ามเนื้อถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดจนเกิดการทำลายไต และตับ จนอาจจะเสียชีวิตได้ ที่เรียกกันว่า Rhabdomyolysis (แรบ-โด-ไม-โอ-ไล-สีส) แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะภาวะนี้ พบได้น้อยมาก ปัญหาของผู้ป่วยส่วนใหญ่ จึงเกิดกับอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่รุนแรง

ตามจริงผลข้างเคียงจากยากลุ่ม สแตติน ที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ มีเพียง5% แต่ในชีวิตจริง กลับพบ ผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อ มากถึง30% สาเหตุที่พบอาการปวดกล้ามเนื้อมากในผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ เหตุผลหนึ่ง อาจจะเกิดจาก การที่ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับข้อมูลว่า ยากลุ่มนี้ อาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจึงอาจจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยา กับ อาการปวดกล้ามเนื้อ และเชื่อว่า อาการนี้ เกิดจากยากลุ่ม สแตติน โดยที่ อาการนี้ไม่ได้เกิดจากยา มีการศึกษาผลข้างเคียงของยา โดยเปรียเทียบ ผู้ป่วยกลุ่มที่ ใช้ยา สแตติน และอีกกลุ่ม ใช้ยาหลอก(placebo)ว่า เป็นยา สแตติน ก็พบว่า ผู้ป่วยที่กินยาหลอก มีการรายงานอาการปวดกล้ามเนื้อจนต้องหยุดยา มีจำนวนสูงถึง30% โดยผู้ป่วยกลุ่มที่หยุดยานี้ มักจะเป็นผู้ป่วยที่มีการรับรู้มาก่อนแล้วว่ายากลุ่ม สแตตินทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ

แล้วรู้ได้อย่างไรว่า อาการปวดกล้ามเนื้อนี้เกิดจากยา ?

เป็นเรื่องที่ยากจะพิสูจน์ นะครับว่า อาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยนี้ เกิดจากยากลุ่ม สแตติน ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

1 ปรึกษากับ แพทย์ แล้วลองหยุดยาในช่วงสั้นๆ เพื่อดูอาการปวดกล้ามเนื้อว่าดีขึ้นหรือไม่? ซึ่ง อาการปวดกล้ามเนื้อจากยา มักจะดีขึ้น หลังจากหยุดยา 1เดือน แต่อย่าลืมนะครับว่า การหยุดยาย่อมหมายถึง ระดับไขมันที่สูงขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองก็จะสูงขึ้น แต่ไม่ควรหยุดยาเองนะครับ ควรปฎิบัติภายใต้การวางแผนของแพทย์

2 ลองสังเกตุอาการปวดที่เกิดขึ้น โดยอาการปวดกล้ามเนื้อจากยากลุ่ม สแตติน จะมีลักษณะดังนี้

มักจะเกิดอาการตั้งแต่ที่เริ่มใช้ยา หรือ เพิ่มขนาดยา ในช่วง ไม่กี่เดือนแรก

อาการปวด คงที่, อาจจะมีอาการอ่อนแรง หรือเป็นตะคริวได้ สามารถปวดที่หัวไหล่, ต้นขา, น่อง, สะโพก หรือ และมักจะเป็น สองข้าง

3 ลองสังเกตุตัวเองก่อนว่า อาการปวดกล้ามเนื้อ อาจจะมาจากสาเหตุอื่นได้ไหม โดยที่ไม่เกี่ยวกับยา เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดในช่วงหลังออกกำลังกาย, อาการปวดจากท่านั่งหรือยืนนานๆ

เมื่อรู้แล้วว่า ยากลุ่ม สแตติน เป็นสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ ควรทำอย่างไร?

และเมื่อแพทย์ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วย มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากยากลุ่ม สแตตินจริง ก็อาจจะมีแนวทางแก้ไขดังนี้

1 การที่จะลดขนาดยากลุ่ม สแตติน ลง แล้วติดตามระดับไขมัน หลังลดยา เพราะขนาดของยาที่สูง ก็ย่อมที่จะทำให้ผลข้างเคียงจากยาสูงขึ้นตามไปด้วย

2 ลองเปลี่ยนยาลดไขมัน แพทย์ อาจจะเปลี่ยนยาลดไขมันเป็นยาตัวอื่น ซึ่งอาจจะลองใช้ยาตัวอื่นแต่ยังเป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม สแตติน หรือ เปลี่ยนเป็นยากลุ่มที่ไม่ใช่ สแตติน ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับ ระดับไขมันของผู้ป่วย และการพิจารณาของแพทย์ผู้รักษา

3 ปรับพฤติกรรมที่ทำให้ ระดับไขมันสูง โดยเฉพาะ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดระดับไขมันได้ แล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ยังช่วยให้การปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากยาเกิดน้อยลงด้วย, การควบคุมอาหาร, การลดน้ำหนัก ลดไขมันหน้าท้อง, การหยุดเหล้า หยุดบุหรี่ และ การไม่อดนอน ไม่เครียดง่าย

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
คลินิกกายภาพบำบัด
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม